เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
My habits. I think I see people talking outside it looks like a really good, but I was elated. Good-natured like smiling. I would love to be with their parents and my friends, it makes me happy. I like Korean music. Like yellow blue. Green I was born 04/12/1993. I prefer to work to support teachers at the school. I learned at school bungkan.

I'am A'ngun ฉันองุ่นคร๊~

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

รายชื่อสมาชิก

รายชื่องสมาชิก


1.นางสาว  ชลศิริ  นันทะจักร์  เลขที่  22


(ผู้จัดทำบล็อก)





2.นาย  ทักษิณ  พลภักดี  เลขที่  8 






















3.นางสาว มินตรา  มุ่งงาม  เลขที่ 32












4.นาย นพเก้า  เลนีย์  เลขที่  9















 



5. นาย ศุภกิจ  ดวงตา เลขที่ 14



















6.นางสาว นิติยา  พรรณการ  เลขที่ 39

















7.นางสาว เฟืองฟ้า สีลา  เลขที่  30














8. นางสาว  รัชเกล้า  สุจันศรี  เลขที่  40


















วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

งานประปา

งานประปา

  งานช่างประปา 
             น้ำเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำปรากฏว่า  คนในชนบทใช้น้ำ  150  ลิตรต่อคนต่อวัน  คนในเมืองใช้น้ำ  440  ลิตรต่อคนต่อวัน  น้ำจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก  ระบบการประปาได้แก่  การนำน้ำเข้ามาใช้  การระบายน้ำโสโครกภายในอาคารบ้านเรือนออกไป  เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด  ระบบประปาที่ดีมีประสิทธิภาพ  จึงหมายถึงความสะดวกสบาย  สุขภาพและพลานามัยของผู้อยู่อาศัย  ดังนั้นความรู้เรื่องระบบน้ำประปา  ระบบการระบายน้ำโสโครก  สุขภัณฑ์  เครื่องมือเครื่องใช้  วัสดุอุปกรณ์  ตลอดจนวิธีการจัดระบบการประปา  การซ่อมบำรุงรักษา  จึงเป็นสิ่งจำเป็น  สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง





ขั้นตอนการทำน้ำปะปา
ขั้นตอนที่ 1
            ตำแหน่งท่อประปาหรือก๊อกน้ำและอุปกรณ์ประปาอื่น ๆ จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่จมน้ำโสโครกหรือของเหลวอื่น ๆ เพราะว่าทั้งท่อประปาและก๊อกน้ำเป็นสูญญากาศ หากเกิดการรั่วไหลของท่อจะทำให้สิ่งสกปรกเข้ามาได้

                                                                   
ขั้นตอนที่ 2
            การเชื่อมต่อท่อประปาควรใช้อุปกรณ์หรือท่อที่ต่อเป็นท่อประเภทเดียวกัน เช่นการต่อท่อพีวีซีควรใช้ข้อต่อต่าง ๆ เป็นพีวีซีและควรต่อเข้ากับท่อพีวีซี ซึ่งจะช่วยให้การยึดเกาะของท่อได้แน่นหนา

                                                                      
ขั้นตอนที่ 3
            ถ้าต้องการเดินท่อแบบฝังในผนัง ควรเลือกท่อประปาที่เป็นเหล็กหรือท่อพีวีซีที่มีความหนาเพื่อป้องกันการกดทับของน้ำหนักโครงสร้างทำให้ท่อแตกได้

                                                                       
ขั้นตอนที่ 4
            ท่อประปาที่ต้องวางนอนตามพื้นจะต้องวางในลักษณะที่ไม่ต้องรับน้ำหนักเกินควรและในกรณีที่ท่อลอดผ่านฐานรากจะต้องมีปลอกร้อยท่อขนาดใหญ่กว่าขนาดท่อ.2 เบอร์ เพื่อป้องกันท่อแตกจากโครงสร้างกดทับ
ขั้นตอนที่ 5
            ในตำแหน่งการใช้น้ำภายในห้องต่าง ๆ ควรมีการวางสต๊อปวาล์ว แยกเป็นส่วน ๆ สำหรับในกรณีที่ท่อหรืออุปกรณ์เกิดเสียหายจะไม่จำเป็นต้องปิดประตูน้ำใหญ่ ซึ่งจะทำให้บ้านทั้งหลังน้ำไม่ไหล
อ้างอิง: http://www.homedd.com

                         
                                                               ก๊อกน้ำ
                           
                                                                   ท่อประปา
                 
                                                                   ข้อต่อประปา
                   
                                                                ข้องอประปา
                    
                                                                     สามทางประปา
                      
               นิปเปิ้ล (NIPPLE) มีเกลียวทั้งสองด้าน
                   ข้อต่อสำหรับระบายน้ำ มีอุดเกลียวถอดระบายน้ำได้
                   สามทางวาย เกษตร
                 
                กิ๊บรัดท่อ ก้ามปูจับท่อ
                                           
                                                                      มิเตอร์น้ำ
                          
                                                                   เทปพันเกลียว
อ้างอิง: http://www.bloggang.com

ความปลอดภัยในการทำงานช่าง

อุบัติเหตุ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน สร้างความเสียหายในหลาย ๆด้าน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ หากเราใช้ความระมัดระวัง ไม่ประมาท และมีมาตรการป้องกันอย่างถูกวิธี

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สรุปได้ดังนี้
1. เกิดจากตัวบุคคล คือเกิดจากตัวเราเองประมาท สุขภาพร่างกายไม่ดีพร้อมที่จะปฏิบัติงาน หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆดีพอ ฯลฯ
2. เกิดจากเครื่องมือชำรุด เครื่องมือมีสภาพไม่พร้อมที่จะใช้งาน มีคุณภาพต่ำ ฯลฯ
3. เกิดจากระบบการทำงาน อาคารสถานที่ การวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ดี พอ หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ อากาศไม่ถ่ายเท อุณหภูมิสูงเกินไป ฯลฯ

ผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ
1. สร้างความสูญเสียต่อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ชนกัน สร้างความเสียหายคือ รถยนต์พัง หรือสูญเสียทรัพย์สินจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น
2. ร่างกายได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือหากรุนแรงอาจสูญเสียชีวิตในที่สุด
3. สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียง การยอมรับในทางธุรกิจ เช่น บริษัทรถทัวร์ใดมักเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ ลูกค้าผู้ใช้บริการอาจใช้บริการของบริษัททัวร์อื่นแทน ทำให้รายได้ของบริษัทลดน้อยลง

อ้างอิง : http://www.school.net.th


แหล่งน้ำดิบผลิตน้ำปะปา



แหล่งน้ำดิบผลิตน้ำปะปา

แห่ลงน้ำดิบผลิตน้ำปะปา 1



         แหล่งน้ำดิบ(Raw Water)ที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาเพื่อบริการแก่ประชาชนนั้น ได้มีการจำแนกชนิดของแหล่งน้ำดิบที่นำมาใช้ตามลักษณะของคุณภาพของแหล่งน้ำดิบออก ได้เป็น
(1)น้ำที่ไม่ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงคุณภาพ (Water requiring no treatment) น้ำชนิดนี้เป็นน้ำที่จัดว่าสะอาด ใช้อุปโภคบริโภคได้เลย ได้แก่น้ำบาดาล ซึ่งไม่ถูกปนเปื้อน
(2)น้ำที่ต้องผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรคเท่านั้น (Water requiring disinfection only) น้ำประเภทนี้จัดว่าเป็นน้ำที่ใส และค่อนข้างจะสะอาด ได้แก่น้ำบาดาล และน้ำผิวดินซึ่งปนเปื้อนเล็กน้อย มีค่า เอ็มพีเอ็น (MPN) ของโคไลฟอร์มแบคทีเรียไม่เกิน 50 ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตรของแต่ละเดือน
(3)น้ำที่ต้องผ่านระบบการกรองเร็ว และต้องการมีการเติมคลอรีนก่อนและ/หรือเติมคลอรีนภายหลัง (Water requiring complete rapid sand filtration treatment or its equivalent, together with continuous chlorination by pre-and/or postchlorination) ได้แก่น้ำที่มีคุณภาพไม่เข้าชั้นน้ำในชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ข้างต้น และมีค่าเอ็มพีเอ็น ของโคไลฟอร์มแบคทีเรียไม่เกิน 5,000 ต่อน้ำ 100 มิลลิกรัม ในจำนวน 20% ของน้ำตัวอย่างที่ตรวจในเดือนใด ๆ น้ำชนิดนี้มักจะขุ่นและถูกปนเปื้อนด้วยมลสาร
(4)น้ำที่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพเพิ่มนอกเหนือจากต้องผ่านระบบการกรองและเดินคลอรีนภายหลังแล้ว (Water requiring auxiliary treatment in addition to complete filtration treatment and post chlorination) น้ำชนิดนี้ควรต้องผ่านขบวนการปรับปรุงคุณภาพขั้นต้น (preliminary treatment) โดยการให้ตกตะกอนก่อนโดยการเก็บกักไว้เป็นเวลา 30 วัน และต้องมีการเติมคลอรีนก่อน (pre-chlorination) น้ำชนิดนี้มีค่าเอ็มพีเอ็น เกินกว่า 5,000 ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ในจำนวน 20% ของน้ำตัวอย่าง แต่ไม่เกินกว่า 20,000 ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ในจำนวน 5% ของน้ำตัวอย่างที่เก็บมา
(5)น้ำที่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพพิเศษ (Water requiring unusual treatment measures) ได้แก่น้ำที่มีคุณภาพไม่จัดอยู่ในประเภททั้ง 4 ข้างต้น และมีค่าเอ็มพีเอ็นเกินกว่า 250,000 ต่อน้ำตัวอย่าง 100 มิลลิลิตรแห


ปั้มสูบน้ำ

เมื่อปั้มสูบน้ำ (Water Pump) ประปาทำงานร่วมกันแบบอนุกรม (Serial)

ในกรณีที่ปั้มสูบน้ำประปาสองเครื่องหรือมากกว่าทำงานร่วมกัน (Work together)
แบบอนุกรม กล่าวคือทางจ่ายของปั้มสูบน้ำประปาเครื่องแรกต่อเข้ากับทางดูดของปั้มสูบน้ำประปาเครื่องที่สองทางจ่ายของปั้มสูบน้ำประปาเครื่องที่สองต่อเข้ากับทางดูดของปั้มสูบน้ำประปาเครื่องที่สาม  เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าอัตราการไหล (Flow rate) ผ่านปั้มสูบน้ำประปาทุกเครื่องเท่ากันหมด   แต่เฮด (Head) จะเพิ่มขึ้น เมื่อไหลผ่านปั้มสูบน้ำประปามากขึ้น  ดังนั้นถ้าให้ปั้มสูบน้ำประปาสองเครื่องที่มีคุณลักษณะ (Features)  เหมือนกันทุกอย่างทำงานร่วมกันแบบอนุกรม  อัตราการไหลเท่าเดิม แต่เฮดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
การนำปั้มมาทำงานร่วมกันนี้จะเป็นผลให้สามารถเพิ่มเฮดได้ตามต้องการ  หลักการข้อนี้นำมาช้สำหรับปั้มสูบน้ำบาดาลแบบ Deep Well Turbine ซึ่งต้องการเฮดมาก  ในกรณีปั้มสูบน้ำทุกเครื่องมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกอย่าง  ประสิทธิภาพของระบบผสมจะไม่แตกต่างไปจากประสิทธิภาพของปั้มสูบน้ำประปาเครื่องใดเครื่องหนึ่ง
Mwater ได้เสนอตังอย่างในรูป ปั้มสูบน้ำเทอร์ไบน์ (Vertical  Turbine Pump) ท่านผู้เยี่ยมชม  www.mwater.in.th จะได้เห็นทั้งสองแบบเพราะ ตัวปั้มที่อยู่จมในน้ำนั้นจะเป็นแบบอนุกรม  ตัวปั้มต่อขึ้นมาเป็นชั้นๆ  แบบอนุกรม แต่เมื่อต่อใช้งานในระบบจ่ายน้ำนั้นปั้มสองชุดต่อร่วมกันแบบขนาน (Parallel) นั้นเอง  หากไม่เข้าใจสอบถาม Mwater เพิ่มเติมได้ 





http://www.mwater.in.th


Posts Tagged 'ระบบประปา'

- ท่อพีบี (Polybutylene Resin)

- HDPE pipe (High Density Polyethylene)

- ๏ ช่างประปา…ควรระวัง ๚…เมื่อซ่อมปั้มสูบจ่ายสารเคมี

- Mwater ร่วมฉลอง……….เทศกาลลอยกระทง ”53

- กรองหัวกระโหลกทางดูด (Foot valve strainer)

- หัวกรองน้ำ (Strainer)

- Mwater…แนะนำปรับปรุงโรงกรองน้ำ…เพื่อเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปา

- Operation pump(Stop)

- Operation pump(Running)

- Operation pump

- แนวคิดในการใช้ท่อหรือแผ่นตกตะกอน…เพิ่มกำลังผลิตน้ำประปา

- Standard Chlorine Storage Tank

- การฝึกอบรมเพื่อการทำงานที่ปลอดภัยกับ….. Cl หรือ คลอรีน

- Mwater แนะนำการแก้ไขเมื่อ….คลอรีนรั่ว….Chlorine

- การใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างดังนี้

- ใครดื่มน้ำสะอาดจากขวด…โปรดฟังทางนี้

- ลักษณะการทำงาน ของปั้มแบบเซนตริฟูกอล (Centrifugal pump)

- บ้าน(Home) แต่ละหลังจะต้องมีถังเก็บน้ำ(Water Storage tank) ขนาดไหนดี…?

- คุณภาพน้ำบริโภค ว่าด้วย …. สี (Colur)

- การตกตะกอน (Sedimentation) ได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ ?

- ค่าการนำไฟฟ้า(Electrical conductivity)

- “22 MARCH” วันของโลกสำหรับน้ำ” หรือ “World Day for Water”

- สารหนู (Arsenic) มีผลต่อคุณภาพ น้ำประปา….อย่างไร ?

- การคำนวณหาขนาดเครื่องสูบน้ำ (Pump water) ในระบบประปา

- การใช้และบำรุงรักษาปั้มสูบน้ำ

- ความดันบรรยากาศ (Atmospheric Pressure)

- ทำไม ? ต้องใช้ท่อ HDPE เป็นท่อน้ำดื่มหรือท่ิอน้ำประปา

- เลือกซื้อปั้มสูบน้ำ ตามวัตถุประสงค์ (Objectives) ของการใช้งานของท่าน หรือไม่

- ระบบประปา มีผลกระทบโดยตรงกับระบบภูมิทัศน์ แก้ใหม่ได้

- การเลือกปั้มสูบน้ำ (Water Pump) และต้นกำลัง (Power)



http://www.mwater.in.th


การประปาของโลกและการแจกจ่าย


           อาหารและน้ำคือสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ จากภาพแผนภูมิที่แสดงข้างต้น การขาดแคลนน้ำจะเกิดมากในประเทศยากจนที่มีแหล่งน้ำจำกัดแต่มีอัตราการเพิ่มประชากรสูงและรวดเร็ว เช่นประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกาและบางส่วนของเอเชีย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2550) พื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่และปริมณฑลโดยรอบจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นใหม่ให้มากพอสำหรับการประปาเพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดและปลอดภัยแก่ประชากรและเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่เพียงพอ ภาพดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้เพื่อการเกษตรซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในปัจจุบันกับการใช้น้ำสำหรับชุมชนเมืองย่อมมีความรุนแรงขึ้น
อาจกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 ประเทศพัฒนาแล้วในอเมริกาเหนือ ยุโรปและรัสเซียจะไม่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมากนัก ไม่ใช่เพียงเพราะประเทศเหล่านั้นร่ำรวยกว่าแต่เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นมีจำนวนประชากรที่ไม่เพิ่มมาก จึงพอรับได้กับปริมาณแหล่งน้ำที่มีอยู่
ประเทศแถบ
แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้และตอนเหนือของประเทศจีนจะพบกับภาวะการขาดแหล่งน้ำอย่างรุนแรงเนื่องจากสภาพทางกายภาพทางภูมิศาสตร์ที่ขาดแหล่งน้ำอยู่แล้ว ผนวกกับการเพิ่มจำนวนประชากรที่เกินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งน้ำ ประทเศส่วนใหญ่ในแถบ อเมริกาใต้ แอฟริกาแถบซาฮะรา (sub-Saharan Africa) จีนตอนใต้ และอินเดียจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในปี พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) ซึ่งประเทศในภูมิภาคดังกล่าวนี้ จะพบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำที่สืบเนื่องมาจากขีดจำกัดทางเศรษฐกิจที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแจกจ่ายน้ำประปาที่สะอาดและปลอดภัยได้เพียงพอ ปัญหาประชากรมากเกินไปในพื้นที่นั้นๆ และอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรโดยรวมที่สูงมากก็เป็นต้นเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งแห่งการขาดแคลนน้ำด้วยเช่นกัน


http://www.pwa.co.th/ 
การใช้งานอุปกรณ์งานช่างปะปา


พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ
 

ลำธารไวท์วอเตอร์

http://th.wikipedia.org


การใช้น้ำ

     การใช้น้ำจืดสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทที่เรียกว่า "บริโภคแล้วหมดไป" (consumptive) และ"บริโภคได้ต่อเนื่อง" (non-consumptive) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "ใช้ได้ต่อเนื่องได้ใหม่" การใช้น้ำที่นับเป็นประเภทบริโภคหมดไปได้แก่การใช้ที่เมื่อใช้แล้วไม่อาจนำกลับมาใช้อย่างอื่นได้อีกในทันที การสูญเสียจากการไหลซึมซับลงสู่ใต้ผิวดินและการระเหยก็นับเป็นประเภทบริโภคหมดไปเช่นกัน (แม้ไม่ได้ถูกบริโภคโดยมนุษย์) รวมทั้งน้ำที่ติดรวมไปกับผลิตภัณฑ์เกษตรหรรืออาหาร น้ำที่สามารถนำมาบำบัดแล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำผิวดินใหม่ได้อีก เช่น น้ำโสโครกที่บำบัดแล้ว จะนับเป็นน้ำประเภทใช้ต่อเนื่องได้ใหม่ ถ้าถูกนำไปใช้ต่อเนื่อในกิจกรรมการใช้น้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง




น้ำที่เป็นมลพิษ



เกษตรกรรม



ฟาร์มแห่งหนึ่งในออนทาริโอ

อุตสาหกรรม

ครัวเรือน


         ประมาณว่าภาคครัวเรือนทั้งโลกใช้น้ำเพื่อบริโภคและอุปโภคเฉลี่ยร้อยละ 15 ซึ่งรวมถึงน้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำเพื่อการปรุงอาหาร เพื่อการสุขาภิบาล และเพื่อการรดน้ำต้นไม้และสวนความต้องการพื้นฐานของการใช้น้ำภาคครัวเรือนได้รับการประมาณไว้โดย "ปีเตอร์ กลีก" ว่าเท่ากับ 50 ลิตรต่อคน-ต่อวัน โดยไม่รวมน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้น้ำใช้แล้วในภาคครัวเรือนจะถูกบำบัดแล้วปล่อยกลับคืนสู่แหล่งธรรมชาติ มีข้อยกเว้นอยู่บ้างที่มีการนำน้ำบำบัดแล้วไปใช้ในงานภูมิทัศน์ ดังนั้นที่น้ำใช้ในภาคครัวเรือนจึงมีสภาวะเป็นประเภทใช้แล้วหมดไปน้อยกว่าน้ำที่ใช้ทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

โรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในโปแลนด์

    ประมาณว่า ร้อยละ 15 ของการใช้น้ำโดยรวมของโลกเป็นการใช้เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมหลักๆ ที่ใช้น้ำมากได้แก่การผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำในการหล่อเย็นและใช้ผลิตไฟฟ้า (เช่นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และการถลุงแร่ การกลั่นน้ำมัน ซึ่งใช้น้ำในกระบวนการทางเคมี โรงงานผลิตสินค้าต่างๆ ที่ใช้น้ำเป็นตัวละลายสัดส่วนการใช้น้ำทางอุตสาหกรรมที่นับประเภทเป็น "การใช้หมดไป" นี้มีความผันแปรแตกต่างกันมากก็จริง แต่โดยรวมแล้วยังนับว่าน้อยกว่าการใช้น้ำทางเกษตรกรรมมาก




        มีการประมาณกันว่า ปริมาณน้ำจืดร้อยละ 70 ของโลกถูกใช้ไปเพื่อการชลประทาน ในบางส่วนของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้ระบบชลประทานเลยก็ได้ แต่ในบางพื้นที่การชลประทานมีความจำเป็นมากในการเพิ่มผลผลิตการปลูกพืชชนิดที่จะได้ราคาดี วิธีการชลประทานแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแลกกันระหว่างผลผลิตที่ได้กับปริมาณน้ำที่ใช้ รวมทั้งราคาค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์และโครงสร้าง วิธีการชลประทานแบบปกติบางแบบ เช่นแบบยกร่องและแบบหัวกระจายน้ำด้านบนจะถูกที่สุด แต่ก็มีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากน้ำส่วนใหญ่จะไหลตามผิวและซึมลงไปในดิน หรือระเหยเสียปล่าไปมากวิธีการชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารวมถึงการชลประทานแบบน้ำหยด แบบน้ำเอ่อเป็นระลอก (surge irrigation) และแบบหัวกระจายบางประเภทที่ใช้หัวจ่ายใกล้ระดับดิน ระบบเหล่านี้แม้จะแพงแต่ก็สามารถลดการไหลทิ้งตามผิวและการระเหยลงได้มาก ระบบชลประทานใดๆ ก็ตาม หากไม่จัดการให้ถูกต้อง ความสูญเปล่าก็ยังมีมากอยู่ดี สิ่งแลกเปลี่ยนกับการใช้ระบบชลประทานที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเพียงพอได้แก่การทำให้เกิดความเค็มของน้ำใต้ดินการเพาะเลี้ยงในน้ำคือเกษตรกรรมขนาดเล็กที่กำลังเติบโตในแง่ของการใช้น้ำ การประมงน้ำจืดเชิงพาณิชย์นับเป็นการใช้น้ำทางเกษตรกรรมด้วยเช่นกัน แต่ยังถือเป็นการใช้น้ำที่มีลำดับความสำคัญที่ต่ำกว่าการชลประทานในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น แต่แหล่งน้ำกลับมีคงที่ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดค้นวิธีเพิ่มผลผลิตอาหารโดยใช้น้ำน้อยลงซึ่งได้แก่: การปรับปรุงวิธีการและเทคโนโลยีด้านการชลประทาน การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การเลือกพันธุ์พืชและระบบการเฝ้าสังเกตและตรวจสอบการใช้น้ำ

นันทนาการ

      น้ำมีคุณค่าด้านนันทนาการค่อนข้างสูงมาก
ปริมาณน้ำที่ใช้ในด้านนันทนาการมีปริมาณน้อยมากแต่ก็กำลังเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่การใช้น้ำด้านนันทนาการมักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอ่างเก็บน้ำ ถ้าอ่างเก็บน้ำถูกบรรจุน้ำเต็มมากกว่าปกติเพื่อนันทนาการ ในกรณีนี้ น้ำที่ถูกเก็บกักไว้อาจจัดอยู่ในประเภทการใช้เพื่อนันทนาการได้ การปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อให้เล่นเรือในทางน้ำใต้อ่างได้ก็สามารถนับน้ำที่ปล่อยเพื่อการนี้เป็นน้ำเพื่อนันทนาการได้เช่นกัน ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่แหล่งน้ำเพื่อกักกันไว้เพื่อกีฬาตกปลา การเล่นสกีน้ำ การเที่ยวชมธรรมชาติและการว่ายน้ำในธรรมชาติการใช้น้ำเพื่อนันทนาการจัดอยู่ในประเภทบริโภคต่อเนื่องที่ไม่หมดไป (non-consumtive) แต่อย่างไรก็ดี มันอาจทำให้น้ำที่อาจนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นลดลงในบางขณะและบางพื้นที่ ตัวอย่างเช่นการเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บในช่วงฤดูแล้งเพื่อใช้ในการเล่นเรืออาจทำให้ขาดน้ำเพื่อการเกษตรในต้นฤดูเพาะปลูกครั้งหน้า รวมทั้งน้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเพื่อให้สามารถล่องแพหรือเรือยางเพื่อการท่องเที่ยวในฤดูแล้งได้ก็อาจทำให้ขาดน้ำเพื่อใช้ทำไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้เช่นกันก็เป็นต้น


น้ำดื่ม

สิ่งแวดล้อม
      การใช้น้ำในด้านสิ่งแวดล้อมที่พอจะเห็นได้ชัดเจนจริงๆ มีน้อยมาก แต่โดยภาพรวมแล้วอาจนับได้ว่ากำลังเพิ่มปริมาณขึ้น การใช้น้ำด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่การนำมาใช้ในการทำพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม ใช้ทำทะเลสาบเทียมเพื่อเพิ่มที่อยู่อาศัยหรือที่พักพิงของสัตว์ป่า ใช้ทำบันไดปลาโจนตามเขื่อนต่างๆ และใช้เป็นน้ำสำหรับปล่อยเป็นเวลาจากอ่างเก็บน้ำเพื่อช่วยการขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำในทางน้ำใต้อ่างเช่นเดียวกับการใช้ในด้านนันทนาการ การใช้น้ำในด้านสิ่งแวดล้อมจัดอยู่ในประเภทบริโภคได้ต่อเนื่อง แต่ก็อาจมีผลให้น้ำที่เก็บกักไว้เพื่อใช้สำหรับกิจกรรมชนิดอื่นลดลงในบางช่วงเวลาและเฉพาะบางพื้นที่ ตัวอย่างเช่น น้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเพื่อช่วยการขยายพันธุ์ปลาอาจทำให้น้ำที่จะใช้เพื่อการเกษตรกรรมเหนือน้ำขาดแคลนหรือมีน้อยลงดังกล่าว
 ระบบน้ำปะปา

       น้ำคือปัจจัยที่สำคัญใน การดำรงชีวิตของมนุษย์ เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได่แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง และนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงอีกมากมาย ดังเช่น
1) จัดเตรียมพื้นที่การเดินท่อทั้งแนวนอน แนวดิ่ง รวมถึงระยะลาดเอียงต่าง ๆ
2) ติดตั้งฉนวนในระบบท่อที่จำเป็นเช่น ท่อน้ำเย็น เพื่อลดความเสียหายจากการรั่วซึม
3) ออกแบบระบบแขวน และรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการบำรุงรักษา

ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย
หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ
1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)
เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร
2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)
เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย

ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้
ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ

- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ
http://www.novabizz.com/


สถานการณืน้ำ

 น้ำนับเป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ เมื่อขาดน้ำ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะน้ำเป็นสื่อหรือปัจจัยสำคัญของการเป็นสิ่งมีชีวิต และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิตทั้งมวล ตลอดจนยังเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

        โลกของเราอาจเรียกได้ว่าเป็นโลกแห่งน้ำ เนื่องจากมีพื้นน้ำถึงร้อยละ 70 และมีส่วนที่เป็นพื้นดินเพียงร้อยละ 30 หรือ 148 ล้านตารางกิโลเมตรเท่านั้น ในเชิงปริมาณน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกทั้ง 3 สถานะ มีประมาณ 1,385 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 97.3 หรือเท่ากับ 1,348 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำเค็มในทะเลและมหาสมุทร ส่วนน้ำจืดซึ่งรวมถึงไอน้ำในบรรยากาศด้วยมีเพียงร้อยละ 2.7 หรือเท่ากับ 37 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
ปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่ในโลกนี้ จะประกอบด้วย
น้ำแข็งขั้วโลก ร้อยละ 76.5 หรือเท่ากับ 28.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ร้อยละ 22.9 หรือเท่ากับ 8.4 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำผิวดิน (น้ำในทะเลสาบ คู คลอง แม่น้ำ ฯลฯ) ร้อยละ 0.6 หรือเท่ากับ 16.3/76.5 = 0.4 ล้านลูกบาศก์เมตร


   ปริมาณน้ำจืดที่สามารถนำมาใช้สอย มีประมาณร้อยละ 10.71 ของปริมาฯน้ำจืดทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ราว 3,7400,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำใต้ดินที่ลึกไม่เกิน 800 เมตร เป็นน้ำในทะเลสาบ 125,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นความชื้นในดินที่ต้นไม้ดูดซับไว้ 69,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นไอน้ำในอากาศ 13,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำผิวดินในแม่น้ำ ลำคลอง ฯลฯ เพียงร้อยละ 0.04 หรือเท่ากับ 1,500 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

               น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อมีแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบน เนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ กระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฎจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา ดังนั้น น้ำที่มนุษย์ใช้แล้ว มิได้สูญหายไปไหน แต่จะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกลับมาใช้อีกได้ โดยกระบวนการกลั่น การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการรวมตัวในบรรยากาศที่เรียกกันว่า วัฏจักรของน้ำ
               วัฏจักรของน้ำ คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ ซึ่งสามารถอธิบายได้อย่างง่าย ๆ คือ เมื่อน้ำตามที่ต่าง ๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยข้นสู่เบื้องบน เมื่อไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้น และกระทบกับความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีก เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำเมื่อได้รับความเย็น กระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา ทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ


ประเภทของน้ำในโลก
แหล่งน้ำที่อยู่บนผิวโลก แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ตามคุณลักษณะและบริเวณที่พบ คือ

    1. มหาสมุทร เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากมีพื้นที่ถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นที่ผิวโลก ทะเลแบ่งออกเป็นทะเลลึก หรือมหาสมุทรและทะเลบริเวณชายฝั่ง เพราะว่าน้ำในทะเลมีความเค็ม เนื่องจากมีเกลือ และแร่ธาตุละลายอยู่ จึงมีข้อจำกัดในการนำน้ำทะเลมาใช้ประโยชน์ เช่น การนำมาใช้ในการเพาะปลูก ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ในการดื่มกิน ซึ่งถึงแม้ว่ามนุษย์สามารถเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดได้ แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม เพราะว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่น้ำทะเลก็ยังมีประโยชน์มากมาย ในแง่ของเส้นทางคมนาคมขนส่งในทะเล แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอ่าหารโปรตีนแหล่งใหญ่ที่สุดให้แก่ชาวโลก ตัวผลิตก๊าซออกซิเจนให้แก่มนุษย์ในปริมาณร้อยละ 75 เป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนตก เป็นแหล่งที่มาของความชื้นของผิวโลกทั้งหมด และเป็นตัวช่วยสร้างความสวยสดงดงามธรรมชาติ
    2. น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติประกอบด้วย แม่น้ำ คำคลอง หนอง บึง น้ำตก ส่วนอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนกักเก็บน้ำต่าง ๆ จัดเป็นแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้ว จะเห็นว่าเรามีน้ำจืดอยู่มากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่และสามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการดำรงชีวิตได้นั้นมีน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณของน้ำทะเล
    3. น้ำใต้ดิน เป็นแหล่งน้ำอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณของน้ำน้อยกว่าแหล่งน้ำ 2 ประเภทแรก กล่าวคือ แหล่งน้ำนี้เกิดจากการที่น้ำผิวดินซึมผ่านพื้นดินลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าแม่น้ำ ลำคลอง และทะเล ไปสะสมปริมาณน้ำอยู่ด้านล่างของแหล่งน้ำ ดังกล่าวนี้ การนำน้ำจากแหล่งน้ำประเภทนี้ขึ้นมาใช้ จะทำโดยการขุดบ่อลงไปจนถึงชั้นน้ำและสูบน้ำขึ้นมา

สถานการณ์น้ำของประเทศไทย
                    ประเทศไทยมีพื้นที่รวม 512,000 ตารางกิโลเมตร จำแนกทางอุทกวิทยาออกเป็น 25 พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่อปีทั้งประเทศ ประมาณ 1,700 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นปริมาณน้ำจากน้ำฝนปีละประมาณ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จะซึมลงใต้ดินและระเหยกลับไปสู่บรรยากาศ เหลือเพียง 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่อยู่ในแม่น้ำลำคลอง
หนอง บึง ปัจจุบันการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง 650 แห่ง และโครงการขนาดเล็ก 60,000 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ 70,800 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปี ส่วนที่เหลือ ไหลลงสู่ทะเล ปริมาณน้ำฝนปีละ 600,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ซึมลงไปใต้ดินและระเหยกลับไปในอากาศ มีเพียงส่วนหนึ่งไหลไปกักเก็บน้ำอยู่ในแหล่งน้ำใต้ดิน ปริมาณน้ำที่ไหลลงไปเก็บกักในแหล่งน้ำใต้ดินนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะและสภาพของชั้นหิน สามารถที่จะเก็บกักน้ำไว้ได้สูงถ้าเป็นหินร่วน เช่น กรวด ทราย ดินเหนียว ชั้นน้ำใต้ดินที่เป็นกรวดทรายสามารถเก็บกักน้ำไว้ในช่องว่างหรือรูพรุนได้สูง ถ้าเป็นหินแข็ง ปริมาณน้ำที่เก็บไว้ได้ จะขึ้นอยู่กับช่องว่างที่เกิดจากรอยแตก รอยเลื่อน โพรง หรือช่องว่างระหว่างการวางตัวของชั้นหิน การศึกษาทางอุทกธรณีวิทยา สามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า แต่ละปีน้ำฝนไหลซึมลงไปเก็บกักในดินร่วนประมาณร้อยละ 10 และในส่วนหินแข็งประมาณร้อยละ 2-5 ในประเทศไทยมีทั้งหินร่วนและหินแข็งที่เป็นแหล่งน้ำใต้ดิน โดยในภาพรวมปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินทั่วประเทศ ปีละประมาณร้อยละ 5 ของปริมานน้ำฝนทั้งหมด หรือประมาณปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ซึมลงไปเหล่านี้ จะไม่สามารถเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำใต้ดินได้ทั้งหมด มีบางส่วนไหลลงสู่ทะเล หรือไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร ปัจจุบันยังมีข้อจำกัด ในการประเมินปริมาณน้ำใต้ดินทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่จัดว่ามีความสะอาด และมีศักยภาพสูงสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค
                      น้ำฝนเป็นทรัพยากรน้ำที่มีคุณค่าและมีความสะอาดสูง สามารถรองรับและเก็บกักในภาชนะไว้เพื่อใช้อุปโภคบริโภคได้โดเยตรง ปริมาฯน้ำฝนทั่วประเทศดังกล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ทั้งในเขตเมืองและชนบท

     ประโยชน์/ความสำคัญของน้ำ
               ประโยชน์ของน้ำ สามรถกล่าวอย่างสังเขปได้ดังนี้
    1. การอุปโภคบริโภค มนุษย์ต้องการน้ำสะอาดเพื่อดื่มกิน และใช้ในการประกอบอาหาร มนุษย์ยังใช้น้ำเพื่อชำระร่างกาย ชะล้างสิ่งสกปรกและใช้เพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
    2. การเกษตรกรรม พืชสัตว์ต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต น้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
    3. อุตสาหกรรม น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในขบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม น้ำถูกใช้เป็นวัตถุดิบ ใช้หล่อเครื่องจักร และระบายความร้อนให้แก่เครื่องจักร ใช้ทำความสะอาดเครื่องจักรเครื่องยนต์ของโรงงาน และใช้ชะล้างกากและของเสียจากโรงงาน
    4. การคมนาคมขนส่ง การคมนาคมขนส่งทางน้ำนับว่าสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากสามารถขนส่งได้จำนวนมาก และเข้าถึงทุกแห่งที่มีแม่น้ำลำคลอง
    5. แหล่งผลิตพลังงาน การไหลของน้ำทำให้เกิดพลังงานขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า และใช้เป็นพลังงานกับเครื่องจักรกลต่าง ๆ ได้
    6. การพักผ่อนหย่อนใจ น้ำนำความสดชื่นและความรื่นรมย์มาให้แก่มวลมนุษย์ ช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ ในด้านการละเล่นและกีฬาทางน้ำ เป็นต้น
  ปัญหาของทรัพยากรน้ำ
ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไปปัญหาการมีน้ำมากเกินไปการแก้ไขปัญหา
ปัญหาน้ำเสีย

1. ลดการตัดไม้ทำลายป่า
2. สร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำ

        เป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายทำลายป่า ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลป่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

        เกิดการขาดแคลนน้ำอันผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืช เพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์

        ด้วยเหตุที่ว่า น้ำหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ไม่สูญหาย แต่จะอยู่ในลักษณะที่แตกต่างกันไป มนุษย์จึงใช้น้ำกันอย่างสะดวกสบาย และค่อนข้างฟุ่มเฟือย ด้วยความรู้สึกที่ว่าน้ำไม่มีวันหมดสิ้น จึงทำให้มนุษย์ละเลยและมองข้ามคุณค่าของน้ำ ซึ่งนอกจากจะไม่สงวนรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีแล้ว ยังกลับทำลายโดยการทิ้งสิ่งโสโครกต่าง ๆ ทำให้น้ำเน่าเสีย จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในขณะนี้ในบางแห่ง
        น้ำเสียเป็นผลมาจากการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ ทั้งในกิจวัตรประจำวัน อุตสาหกรรม และการเกษตรกรรม ฯลฯ แหล่งกำเนิดน้ำเสีย สามารถแบ่งได้เป็น 4 เภทใหญ่ ๆ คือ
1. น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนที่อาศัยในชุมชน เช่น น้ำเสียจากบ้านเรือน อาคาร ที่พักอาศัย โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน ร้านค้า อาคารสำนักงาน เป็นต้น น้ำเสียชุมชนนี้ส่วนใหญ่จะมีสิ่งสกปรก ในรูปของสารอินทรีย์ (Organic Matters) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเป็นสาเหตุสำคัญของการทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำเสื่อมโทรมลง
2. น้ำเสียจากอุตสาหกรรม (Industrial Wastewater) ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรมตั้งแต่ขั้นตอนการล้างวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การล้างวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกล ตลอดจนการทำความสะอาดโรงงาน ลักษณะของน้ำเสียประเภทนี้ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต รวมทั้งระบบควบคุมและบำรุงรักษา องค์ประกอบของน้ำเสียประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสิ่งสกปรก ที่เจือปนอยู่ในรูปสารอินทรีย์ (Organic Matter ) สารอนินทรีย์ (Inorganic Matters) อาทิ สารเคมี โลหะหนัก เป็นต้น
3. น้ำเสียเกษตรกรรม (Agricultural Wastewater) ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตร ครอบคลุมถึงการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ ลักษณะของน้ำเสียประเภทนี้จะมีสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ ทั้งในรูปของสารอินทรีย์ Organic Matters) และสารอนินทรีย์ (Inorganic Matters) ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้น้ำ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีต่าง ๆ ถ้าหากเป็นน้ำเสียจากพื้นที่เพาะปลูก จะพบสารอาหารจำพวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และสารพิษต่าง ๆ ในปริมาณสูง แต่ถ้าเป็นน้ำเสียจากกิจการการเลี้ยงสัตว์ จะพบสิ่งสกปรกในรูปของสารอินทรีย์เป็นส่วนมาก
4. น้ำเสียที่ไม่ทราบแหล่งกำเนิด (Nonpoint Source Wastewater) ได้แก่ น้ำฝน และน้ำหลากที่ไหลผ่านและชะล้างความสกปรกต่าง ๆ เช่น กองขยะมูลฝอย แหล่งเก็บสารเคมี ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และคลองระบายน้ำ
ผลกระทบของน้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม

    • เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย
    • เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค
    • ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น้ำ อากาศ
    • ทำให้เกิดความรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็น
    • ทำให้สูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพไม่น่าดู
    • ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น สูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิด จำนวนสัตว์น้ำลดลง
    • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว
    • ผลต่อสุขภาพ
ปัจจุบันความรู้หรือความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับน้ำ (Water-related diseasesแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ดังนี้
1. Waterborne diseases เป็นโรคหรือความเจ็บป่วยที่มีน้ำเป็นสื่อในการแพร่กระจาย เกิดจากการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคประเภทต่าง ๆ ตลอดจนสารเคมี โลหะหนัก รวมทั้งการปรุงอาหารโดยใช้น้ำไม่สะอาดที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคและสารเหล่านี้ มักจะเป็นอาการอุจจาระร่วงทีเดจากเชื้อโรคจำนวนมาก และอาการป่วยด้วยโรคอื่น ๆ คือ บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบ และพยาธิชนิด ๆ
2. Water-washed diseases โรคหรือความเจ็บป่วยที่เนื่องมาจากความขาดแคลนน้ำสะอาด ในการชำระล้างทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้าเรื่องนุ่งห่ม มักจะเป็นอาการโรคติดเชื้อตามเยื่อบุตา ผิวหนัง ภายนอกร่างกาย เช่น ริดสีดวงตา หิด เหา แผลตามผิวหนัง เป็นต้น
3. water-based diseases โรคหรือความเจ็บป่วยเนื่องจากเชื้อโรคหรือสัตว์นำโรคที่มีวงจรชีวิตอาศัยในน้ำ ที่สำคัญคือ พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในเลือด เป็นต้น
4. Water-related insect vectors โรคหรือความเจ็บป่วยเนื่องมาจากแมลงเป็นพาหะนำโรค ที่ต้องอาศัยน้ำในการแพร่พันธุ์เป็นสำคัญ พาหะนำโรคส่วนใหญ่เกิดจากยุง เช่น มาลาเลีย ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง ไข้เหลือง เป็นต้น
        กลุ่มโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับน้ำ (Water-related diseases) ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นผลมาจากการปนเปื้อนทั้งจุลินทรีย์ และ/หรือ สารเคมี ทั้งในแหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่มนุษย์จะต้องสัมผัสและนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค 

คุณภาพแหล่งน้ำทั่วประเทศ ปี 2542

        ประมาณร้อยละ 29 เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพในเกณฑ์ต่ำ และประมาณร้อยละ 5 เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพในเกณฑ์ต่ำมาก ได้แก่ แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง (ช่วงระหว่างหน้าที่ว่างการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จนถึงปากแม่น้ำ จังหวัดสมุทรสาคร) แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (ช่วงระหว่างจังหวัดนนทบุรี จนถึง ปากแม่น้ำ จังหวัดสมุทรปราการ) และแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง (ช่วงระหว่างท้ายเทศบาลนครนครราชสีมา) โดยเฉพาะแม่น้ำท่าจีน เจ้าพระยา พบว่ามีความเข้มข้นของปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนสูงเกินกว่ามาตรฐาน
คุณภาพแหล่งน้ำ ที่กำหนดว่าไม่ควรเกินกว่า 0.5 มก./ล. อยู่เสมอจึงอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำ และ เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ