เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
My habits. I think I see people talking outside it looks like a really good, but I was elated. Good-natured like smiling. I would love to be with their parents and my friends, it makes me happy. I like Korean music. Like yellow blue. Green I was born 04/12/1993. I prefer to work to support teachers at the school. I learned at school bungkan.

I'am A'ngun ฉันองุ่นคร๊~

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

งานช่างสี

งานช่างสี

งานช่างสี

งานช่างสี
             งานช่างสี  เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง  เช่น  งานไม้  งานปูน  และงานโลหะ  เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว  ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม  งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว  ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น  ยืดอายุ     การใช้งานให้ยาวนานขึ้น  งานช่างสีมีหลักวิธีการ  เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา  จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง


การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ

1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้

2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า

3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ

4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน

การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน

สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้วสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ีความเข้าใจ แบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้
1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ Emulsion เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย
2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย
3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ
4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ
5. สีอบ ประเภท UV Cure เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ
6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย
7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง
8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น Acrylic ประตู Alloy สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ
แนวคิดในการเลือกใช้สี
สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆ ในการเลือกใช้สี ต้องเลือกใช้สี ที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ การใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้น ต้องเลือกให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตาม ประโยชน์และหน้าที่ เฉพาะของสีโดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้


1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น

2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น

3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง

4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น

5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกใช้สีนั้น อันดับแรก ต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อย หนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษ หรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม
ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย

สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลา เสียความรู้สึก อีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจน มากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสี ที่ทาแตกต่างกัน
http://www.wiboonproduct.com

ขั้นตอนการทำงานทั่วไปในการทำสี

ขั้นตอนการทำงานทั่วไปในการทำสี

                เพื่อนๆหลายๆท่านคงจะทราบนะครับ ว่าอู่เคาะ-ซ่อมสีตัวถังรถยนต์นั้นมีหลายประเภท ที่ๆเรียกกันว่า อู่ธรรมดา หรืออู่ข้างถนนทั่วไป บางอู่เน้นเรื่องราคา! คุณภาพที่ออกมาก็พอรับได้ในตอนรับรถ ความเงางามก็ดูพอใช้ แต่เชื่อไมครับ ผ่านไปครึ่งปี งานที่ไม่ได้คุณภาพพวกนี้ก็เริ่มจะฉายแวว เพราะตัวถังรถเป็นส่วนที่ถูกตากแดด ฝากระโปรงได้รับความร้อนจากตัวเครื่อง จะเป็นยังไงละครับ งานสีพวกนี้เฉดสีก็จะผิดเพี้ยน สีซีดจาง สีแตก และอื่นๆ อ้าว! ทีนี้เพื่อนๆจะกลับไปต่อว่าอู่สีนั้นหรือครับ ได้งานออกมาครึ่งปีแล้ว ผู้ประกอบการก็มีข้ออ้างมากมาย เพื่อนๆก็ทำได้เพียงแค่หาอู่ใหม่ไปทำ เสียเงินเสียทองอีก อันนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ

อู่อีกประเภทก็เป็นอู่ที่เรียกว่าอู่ห้าง อู่ห้างนั้น เรื่องราคาจะสูงกว่าอู่ทั่วไปอยู่บ้าง ผู้ที่ทำประกันภัยชั้นหนึ่งที่ทำเบี้ยอู่ห้างก็จะมีสิทธิ์เข้ามาทำที่อู่ห้างเท่านั้น ถ้าไม่ใช่เบี้ยอู่ห้าง ทางลูกค้าก็จะต้องจ่ายเงินค่าส่วนต่างเพิ่มเติม เพื่อที่จะมาservice กับอู่ห้าง ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการพิจารณานำรถมาเข้าอู่ห้าง เพื่อนๆก็ต้องดูด้วยว่ามาตรฐานของอู่นั้นๆเพียงพอแค่ไหนนะครับ เดี๋ยวผมจะอธิบายขั้นตอนการทำสีคร่าวๆของทาง พรภพเจริญยนต์ เพื่อที่เพื่อนๆจะได้ เป็นข้อมูลเวลาที่จะนำรถเข้าไปทำสีครับ


1.  รับรถจากลูกค้า ในกรณีที่รถของท่านได้ประสบอุบัติเหตุ ทางเราก็ได้มีการประสานงานกับบริษัทรถลาก หรือท่านจะสะดวกนำรถเข้ามาเองก็ได้ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทำเอกสาร ถ้าท่านทำประกันไว้ ทางเราก็จะมีเจ้าหน้าที่ คุยกับทางประกัน โดยเอกสารที่ท่านจะต้องเตรียมมี เอกสารใบเคลมตัวจริงที่ทางประกันภัยออกให้ เอกสารสำเนาทะเบียนรถ เอกสารสำคัญของท่านเจ้าของรถ นั่นก็คือ สำเนาใบขับขี่ สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาตารางกรมทัณฑ์ เพียงแค่นี้ทางเราก็จะจัดการเรื่องทุกอย่างของท่านได้ทั้งหมด
2. ดำเนินงานด้านการเคาะตัวถัง แก้ไขดัดแปลงในส่วนที่ได้รับความเสียหาย เปลี่ยนอะไหล่ และดำเนินการจัดแต่งรูปทรงรถให้เสร็จสมบูรณ์
3.การ โป๊วหยาบ เพื่ออุดร่องรอยของความเสียหาย ในส่วนนี้จะใช้ยาโป๊วแห้งช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสี 2k หรือระบบแห้งช้า ขั้นตอนนี้ต้องทิ้งงานให้แห้งสนิท ใช้เวลาอย่างน้อย 18 -24 ชม
4. ติดกระดาษหรือแผ่นพลาสติก เพื่อกันไม่ให้สีที่กำลังจะพ่น ไปติดกับชิ้นส่วนต่างๆ เช่นกระจก ยางขอบกระจก หรือส่วนตัวถังอื่นๆ
5. พ่นรองพื้น
6. เก็บรอย ต่างๆบนพื้นผิวงาน ก่อนดำเนินการพ่นสี

7. ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด นั่นคือการพ่นสี ขั้นตอนนี้ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการ เพราะสีผิดเพี้ยนเพียงนิดเดียว รถของท่านก็จะดูไม่สวยงาม
8. ขัดเงา และ ประกอบ
9. พอเสร็จกระบวนการ ก็นำรถลูกค้า งานประดิษฐ์และงานช่าง
ความหมายของงานช่าง

    งาน หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, การพิธี หรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน
    ช่าง หมายถึง ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
    งานช่าง หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ทำโดยผู้ชำนาญในการฝีมือ โดยมีศิลปะ


ความสำคัญของงานช่าง
    งานช่างด้านต่าง ๆ เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต งานช่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัสดุให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนวิชางานช่างไปใช้ในครอบครัว


ประโยชน์ของงานช่าง     1. สามารถใช้เครื่องใช้มนบ้านอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
    2. รู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องใช้ในบ้างทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
    3. สร้างลักษณะนิสัยที่ดีในเรื่องความรับผิดชอบ ความอดทน ความประหยัด และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    4. เกิดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
    5. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างชิ้นงานรูปแบบแปลกใหม่เพิ่มขึ้น
    6. ฝึกใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
    7. สามารถเป็นพื้นฐานในการศึกษางานอาชีพและการประกอบอาชีพต่อไป


ประเภทของงานช่าง     งานช่างในประเทศไทย ถ้าแบ่งตามหลักฐานที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยแบ่งตามลักษณะของชิ้นงานแบ่งออกเป็นช่าง 10 หมู่ดังนี้
        1. งานช่างเขียน
        2. งานช่างแกะ
        3. งานช่างสลัก
        4. งานช่างปั้น
        5. งานช่างปูน
        6. งานช่างรัก
        7. งานช่างหุ่น
        8. งานช่างบุ
        9. งานช่างกลึง
        10. งานช่างหล่อ
    งานช่างที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต หรือเรียกว่าช่างในบ้าน แบ่งออกเป็น 6 งาน ดังนี้
        1. งานไฟฟ้า
        2. งานประปา
        3. งานช่างสี
        4. งานปูน
        5. งานโลหะ
        6. งานไม้


งานช่างทุกช่างในการปฏิบัติงานให้ได้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพจะต้องประกอบไปด้วยงานหลัก 4 งานดังนี้
    1. งานบำรุงรักษา
        งานบำรุงรักษา เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    2. งานซ่อมแซม
        งานซ่อมแซม เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    3. งานติดตั้ง
        งานติดตั้ง เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้าน โดยผู้ปฏิบัติสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อติดตั้งเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้านให้สามารถใช้งานและอำนวยประโยชน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
    4. งานผลิต                                    
        งานผลิต เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบและผลิตชิ้นงาน โดยผู้ปฏิบัติต้องสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และวิธีการทำงานช่างอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน


ความหมายของเครื่องมือ,วัสดุและอุปกรณ์
    - เครื่องมือ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงาน
    - วัสดุ หมายถึง สิ่งที่ใช้แล้วสิ้นเปลืองและหมดไป เช่น สี กาว สายไฟ ยางลบ ดินสอ
    - อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่ใช้แล้วยังคงเหลือ สามารถใช้ได้อีก เช่น กรรไกร เลื่อย คีม


หลักการเลือกซื้อ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้งานในงานช่าง 
    1. ประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่าคำนึงถึงเรื่องราคาเพียงอย่างเดียว

    2. ความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน เพื่อคุ้มค่าในการเลือกซื้อ
    3. ความสะดวกในการใช้งาน เมื่อเกิดการชำรุดแล้วสามารถซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนได้ง่าย
    4. ความปลอดภัย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรมีตรารับรองคุณภาพ
 
ประเภทของเครื่องมือ ที่ใช้ในงานช่าง แบ่งตามประเภทการใช้งานได้ 4 ประเภท ดังนี้     1. เครื่องมือประเภทตัด
    2. เครื่องมือประเภทตอก
    3. เครื่องมือประเภทเจาะ
    4. เครื่องมือประเภทวัด


ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในงานช่าง แบ่งตามลักษณะของงานแต่ละประเภท ดังนี้
    1. งานไม้
    2. งานปูน
    3. งานโลหะ
    4. งานไฟฟ้า
    5. งานประปา
ข้อกำหนดทั่วไป
ข้อกำหนดทั่วไป
   *   สีที่ใช้จะต้องสั่งชื้อโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิตหรือจากตัวแทนจำหน่ายของบริษัท  สีที่ใช้จะต้องเป็นของใหม่  ห้ามนำสีเก่าที่เหลือจากงานอื่นมาใช้หรือผสมเป็นอันขาด
   *   สีที่นำมาใช้จะต้องบรรจุและผนึกในกระป๋องหรือภาชนะโดยตรงจากโรงงานของผู้ผลิตและประทับตราเครื่องหมายการค้า  เลขหมายต่างๆ ชนิดที่ใช้และคำแนะนำในการทาติดอยู่บนภาชนะอย่างสมบูรณ์  กระป๋องหรือภาชนะที่ใส่สีนั้นจะต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่บุบชำรุด ฝาปิดต้องไม่มีรอยถูกเปิดมาก่อน
   *   สีทุกกระป๋องจะต้องนำมาเก็บไว้ในสถานที่ที่จัดไว้หรือในห้องเฉพาะที่มิดชิดมั่นคงสามารถใช้กุญแจปิดได้ ภายในห้องมีการระบายอากาศดีไม่อับชื้น มีการทำความสะอาดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นประจำทุกวันและจะต้องมีการป้องกันอัคคีภัยเป็นอย่างดีเป็นที่เก็บสีและอุปกรณ์ในการทาสี  การมอบรับสีจากโรงงานหรือการเปิดกระป๋องสีตลอดจนการผสมสีให้ทำในห้องนี้เท่านั้น  สำหรับกระป๋องสีที่ใช้แล้วห้ามนำออกบริเวณก่อสร้างจะต้องเก็บรวบรวมไว้ให้วิศกรตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
   *   การตรวจสอบระหว่างการก่อสร้าง  เจ้าของโครงการ สถาปนิก วิศวกรหรือผู้แทนของบริษัทผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสีมีสิทธิ์เข้าตรวจสอบคุณภาพและจำนวนของสีได้ตลอดเวลาการก่อสร้าง
   *   จะต้องไม่ทำการทาสีในขณะที่มีความชื้นในอากาศสูง หรือฝนตก  และห้ามทาสีภายนอกอาคารหลังจากฝนหยุดตกทันที  จะต้องปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย  72  ชั่วโมงหรือจนกว่า  INSPECTOR จะเห็นสมควรให้เริ่มทาสีได้  และการทาสีภายนอกอาคารหลังจากฝนตกจะต้องขออนุญาตจากผู้ว่าจ้างทุกครั้ง
   *   ส่วนที่ไม่สามารถทาสีได้  ถ้าหากมีส่วนหนึ่งส่วนไดที่สงสัยหรือไม่สามารถทาสีได้ตามข้อกำหนด ผู้รับจ้างจะต้องรีบแจ้งให้ตัวแทนผู้ว่าจ้างทราบทันที
   *   การนำสีมาใช้แต่ละงวด  ผู้รับจ้างจะต้องให้ตรวจสอบก่อนว่าเป็นสีที่กำหนดให้ใช้ได้
   *   ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามรายการประกอบแบบงานสีนี้อย่างเคร่งครัด  หากส่อเจตนาที่จะพยายามบิดพริ้ว ปลอมแปลง ผู้รับจ้างมีสิทธิ์จะให้ล้างหรือขูดสีออกแล้วทาใหม่ให้ถูกต้อง
   *   สิ่งอื่นๆที่ใช้ประกอบในการทาสีที่ไม่ได้ระบุไว้ เช่น น้ำมันสน หรือสารละลายต่างๆให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตสีนั้นๆ
   *   ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาช่างสีที่มีฝีมือดีมีประสบการณ์และชำนาญงานมาทำงาน โดยการทำงานของช่างสีจะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลอย่างไกล้ชิดของวิศวกรหรือหัวหน้าช่างสี  ช่างสีจะต้องเป็นผู้เห็นชอบและปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้สีหรือผสมสีของบริษัทผู้ผลิต  ในการทาสีช่างสีจะต้องทาให้สีมีความเรียบสม่ำเสมอกันตลอดปราศจากรอยต่อ ช่องว่าง หรือเป็นรอยแปรงปรากฎอยู่  ไม่มีรอยหยดของสี
มีความแน่ใจว่าสีแต่ละชั้นจะต้องแห้งสนิทดีแล้วจึงจะลงมือทาสีชั้นต่อไป  ควรจะพิจารณาความเรียบร้อยในการทาสีแต่ละชั้น
 



อ้างอิง:http://www.wongthip.com
 




งานสีแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. งานทาสีปิดลายไม้ เช่นการทาสีหรือวัสดุอื่น แล้วมองไม่เห็นลายไม้

2. งานเคลือบผิวโชว์ลายไม้ เช่น การทาแลกเกอร์ เชลแล็ก ยูริเทน เมื่อทาแล้วสามารถมองเห็นลายไม้


แหล่งอ้างอิง
 
http://www.school.net.th
 ประเภทและลักษณะของสี
สีน้ำ   WATER COLOUR
    สีน้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น
ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ      แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว    คือ สีดำ
ผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมาก         การระบายสีน้ำจะใช้น้ำ
เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจาง    ในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนัก
อ่อนลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น        เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป
แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ    จะมีลักษณะใส  บาง และ
สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะระบายซ้ำ ๆ
ทับกันมาก ๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่า  สีน้ำที่มีจำหน่าย
ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลาย
น้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque )    ซึ่งจะมี
ระบุ ไว้ข้างหลอด  สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ


สีโปสเตอร์   POSTER  COLOUR
   สีโปสเตอร์  เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด  การใช้งานเหมือน
กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง     สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี
เนื้อเรียบได้    และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน  หรือสีอะครีลิค       สามารถ
ระบายสีทับกันได้  มักใช้ในการวาดภาพ  ภาพประกอบเรื่อง   ในงานออกแบบ ต่าง   ๆ    ได้สะดวก
ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว












สีชอล์ค  PASTEL
   สีชอล์ค  เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว
ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี  แต่มีเนื้อ
ละเอียดกว่า  แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก  มักใช้ในการวาดภาพเหมือน

สีฝุ่น  TEMPERA
   สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช  สัตว์ นำมาทำให้ละเอียด
เป็นผง ผสมกาวและน้ำ กาวทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้     ยางมะขวิด
หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย  ในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น
โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา  เขียนสีทับ
กันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป     โดยเฉพาะภาพฝาผนัง  ในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาฝนัง
ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี  เนื้อสีจะซึมเข้าไป
ในเนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดย
ไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว  การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์

ดินสอสี  CRAYON
   ดินสอสี   เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์  นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ
 เพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก  เนื่องจากมีส่วนผสม
อื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้  โดยเมื่อใช้
ดินสอสีระบายสีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด
สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้

สีเทียน   OIL PASTEL
   สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง
มีลักษณะทึบแสง สามารถเขียนทับกันได้  การใช้สีอ่อนทับสีเข้มจะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้าง  การผสมสี
อื่น ๆใช้การเขียนทับกัน สีเทียนน้ำมันมักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำ   ถ้าต้องการให้
สีติดแน่นทนนาน จะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี  สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็ก
เนื่องจากใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และมีราคาถูก

สีอะครีลิค  ACRYLIC  COLOUR
 สีอะครีลิค  เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค ( Acrylic ) หรือ
ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำ  ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำ
และสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง และทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง  เมื่อแห้งแล้วจะมี
คุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน  คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ
ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดี    เมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช  ( Vanish )  เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกัน
การขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น  สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด  มีราคาค่อนข้างแพง

สีน้ำมัน  OIL  COLOUR
   สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed )
ซึ่งกลั่นมาจากต้นแฟลกซ์  หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้        สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาว
ผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่  งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ  (Canvas )  มีความคงทนมากและ
กันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว  การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ
เป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ
และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิม  สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะบรรจุในหลอด  ซึ่งมีราคา
สูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพ  การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด  ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน    แต่ถ้าใช้
น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็งๆ   สีน้ำมัน
เป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย 
http://www.prc.ac.th
ประเภทและคุณสมบัติของสี
สีน้ำพลาสติก (Emulsion)
ข้อดี ข้อจำกัด
- ง่ายต่อการใช้งาน
- แห้งเร็ว ไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ
- ไม่มีปัญหาการยึดเกาะระหว่างชั้น
- ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศดี
- ไม่ทนกรดและด่าง
- ห้ามใช้บริเวณที่ต้องแช่น้ำ
- ไม่ทนต่อสารละลาย
- ความทนทานต่อการขัดถู ขึ้นอยู่กับประเภทของกาวที่ใช้

สีน้ำมันอัลคิด (Alkyd)

ข้อดี ข้อจำกัด
- แห้งตัวโดยใช้ออกซิเจนช่วย
- ง่ายต่อการใช้งาน
- เป็นสี 1 ส่วน
- ซึมสู่พื้นผิวได้ดี
- ทนต่อสภาพอากาศได้ดี
- ทนต่ออุณหภูมิแห้งได้ถึง 120 C.
- ไม่ทนกรดและด่าง
- ห้ามใช้บริเวณที่ต้องแช่น้ำ
- ไม่ทนต่อสารละลาย
- ความหนาต่อชั้นต้องไม่เกิน 50ไมครอน ห้ามทาหนา
- ไม่ควรทาทับด้วยสีระบบอื่น

สีน้ำมันอัลคิด (Alkyd)
ข้อดี ข้อจำกัด
- ทนสารเคมี ด่างได้ดีมาก
- ทนต่อการขีดข่วน ทนทาน
- การยึดเกาะพื้นผิวดีมาก
- กันน้ำได้ดีมาก
- ทนอุณหภูมิแห้งได้ถึง 120 C.
- ไม่ทนต่อรังสี UV (เกิดเป็นฝุ่น)
- ต้องการการเตรียมผิวที่ดี (Sa 2 1/2)
- มีกำหนดระยะเวลาในการทาทับ
- เป็นสี 2 ส่วนผสม

สีโพลียูรีเทน (2 ส่วนผสม) )
ข้อดี ข้อจำกัด
- ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศดี เงามาก
- ทนสารเคมีได้ดีมาก ทนตัวทำละลายดีมาก
- ทนต่อแสงแดด รังสียูวี (UV)
- มีกำหนดระยะเวลาในการทาทับ
- เป็นอันตรายต่อผิวหนังอาจทำให้แสบคัน

สีอีพ็อกซี่มาสติก (2 ส่วนผสม)

ข้อดี ข้อจำกัด
- กันน้ำได้ดีมาก เนื้อสีมาก (82 - 87%)
- ทาต่อขั้นได้หนามาก
- ใช้ได้กับทั้ง Sa 2 1/2 & St 2
- ทนต่อการขีดข่วนได้ดี ทาทับได้บนสีทุกประเภท
- ไม่ทนแสง UV
- ห้ามทำฟิล์มสีหนาเมื่อทาบนสี Physical dry
- ความหนาต่ำสุดต่อชั้น 150 ไมครอน โดย Airless spray

สีอีพ็อกซี่ทาร์ (2 ส่วนผสม)
ข้อดี ข้อจำกัด
- กันน้ำได้เป็นเยี่ยม
- มีเนื้อสี 70%
- ใช้ได้กับทั้ง Sa 2 1/2 & St 2
- ทนต่อการขีดข่วนได้ดี กันสนิมดีมาก
- ทนอุณหภูมิแห้งได้ถึง 90 C.
- ไม่ทนแสง UV
- มีแต่สีเข้ม ๆ
- มักเกิดการแทรกซึม ของทาร์ บนสีทับหน้าเสมอ
- กลิ่นเหม็น
- ทาร์ เป็นสารก่อมะเร็ง

สีรองพื้น อีพ็อกซี่

เหล็กคอนกรีตไฟเบอร์กล๊าซ
- Jotamastic87, Aluminium
- Penguard Primer SEA
- Coaltar Epoxy 82
- Penguard Clear Sealer
- Jotafloor Sealer
- Jotafloor Solvent Free
- Penguard HB

สีทับหน้า
ชิ้นงานไม่โดนแดดชิ้นงานอยู่กลางแจ้ง
- Penguard Enamel
- Penguard HB
- Penguard HB
- Hardtop AS
- Futura







ขั้นตอนของการว่าจ้างทำสี PROCESS FLOW





1. ดูสภาพทั่วไปของเครื่องจักร หรือชิ้นงาน เช่น...
  • ขนาดและมิติของเครื่องจักร หรือ สภาพชิ้นงานที่จะทำสี  ( กว้าง , ยาว , สูง , น้ำหนัก เป็นต้น )
  • สภาพของเครื่องจักร หรือ ชิ้นงาน ความเสียหายของสีเดิม แผล , ตำหนิ การหลุดลอกของสี 
  • สถานที่ , สิ่งของ เครื่องจักร บริเวณรอบข้าง
2. ทำการตรวจสอบสภาพและประเภทของสีเดิม
  • ทำการตรวจสอบหาประเภทของสี ( ด้วยสารเคมี หรือ น้ำยาตรวจสอบ )
  • ทดสอบทางกายภาพ
  • ทดสอบการยึดเกาะของสีเดิม
3. รับทราบความต้องการของผู้จ้าง ( ด้านเทคนิค )
  • ประเภทของสี , เฉดสี , ยี่ห้อสี
  • จุดหรือตำแหน่งที่จะต้องให้ทำสี และ จุดที่ไม่ต้องการให้ทำสี
  • พื่นที่ของการทำสี 
  • ข้อกำหนด การปฏิบัติภายใต้เงื่อนไข หรือ กฎระเบียบของสถานที่ทำงาน ของผู้ว่าจ้างนั้นๆ
4. รับทราบความต้องการของผู้จ้าง ( ด้านงบประมาณ )
  • กำหนดความต้องการเรื่องระยะเวลา ในการทำสี , เวลาการส่งมอบงาน
  • ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เรื่องวัตถุดิบ  เช่น สี , กระดาษทราย , วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
  • หรือ กรณีจ้างเฉพาะค่าแรง ทำสี เท่านั้น




5. เสนอราคา
  • แจ้งราคาในการทำสี และอื่นๆ ( โดยเป็นเอกสาร เช่น ใบเสนอราคา Quotation , ทาง Email หรือ ทางโทรสาร )
  • แจ้งเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงิน
  • กำหนดเสร็จ หรือ การส่งมอบงานในการมำสี
  • การรับประกันผลงาน
6. การพิจารณาในโครงการ
  • การปรับเปลี่ยน ด้านเทคนิค ( เช่น ลด หรือ เพิ่ม  สี , ขนาด ,  เวลา หรือ วัสดุที่ใช้  เป็นต้น )
  • การปรับเปลี่ยน ด้านราคา ( การต่อรองราคา )
7. สรุปเงื่อนไขต่างๆ และอนุมัติ
  • วัสดุที่ใช้ , ราคา
  • ออกเอกสาร ใหม่ Revise เอกสาร พร้อมเสนอให้ผู้จ้างเซ็นต์รับ
8. ดำเนินการทำสี พ่นสี หรือ ทาสี
  • ดำเนินการทำสีตามขบวนการ หรือทำสี ตามมาตรฐานที่กำหนด


http://www.misterpainting.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น