เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
My habits. I think I see people talking outside it looks like a really good, but I was elated. Good-natured like smiling. I would love to be with their parents and my friends, it makes me happy. I like Korean music. Like yellow blue. Green I was born 04/12/1993. I prefer to work to support teachers at the school. I learned at school bungkan.

I'am A'ngun ฉันองุ่นคร๊~

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานช่างปูน

งานช่างปูน

            ปัจจุบันอาคารบ้านเรือน  อาคารสำนักงาน  และถนนหนทางล้วนสร้างด้วยปู  ไม้  และโลหะเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น  ทั้งนี้เพราะการก่อสร้างด้วยปูน  มีความคงทนถาวรมากกว่าไม้  ราคาถูกกว่า  หาง่ายกว่า  และการดูแลรักษาน้อยกว่า  งานช่างปูนจึงมีความสำคัญ  เป็นงานอาชีพ  และเป็นงานที่ผู้ครองเรือนควรต้องศึกษา  เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานช่างปูนภายในบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้  เช่น  การซ่อม  สร้างบำรุงรักษา  ส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่ทำด้วยปูน  ต้องรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้  การจัดหาวัสดุนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม







ช่างปูน
Plastering




  ความหมายของงานช่างปูน

   ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ งานของช่างปูน เป็นงานสร้างทำอาคารสถานชนิดเครื่อง ก่อประเภท เจติยสถานและศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆ ใบเสมา กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น และงานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้นปูนอีกด้วย

 แหล่งอ้างอิง : http://thaihandiwork.com/

ความสำคัญของเครื่องมือช่างปูน


การปฏิบัติงานจะประสบความสำเร็จได้นั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะหลายๆด้านผู้ปฏิบัติต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน  สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานช่าง  คือการเรียนรู้เรื่องเครื่องมือนั่นเอง ถึงแม้ว่าตัวช่างจะมีฝีมือดีเพียงใดก็ตามแต่เครื่องมือไม่พร้อมและไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ งานที่ได้ก็คงจะไม่ดีเท่าที่ควรดังนั้นในงานช่างปูนผู้ที่จะปฏิบัติงานได้ดีนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจรู้จักวิธีการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างปูนเป็นอย่างดีเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วในโกาสต่อไป
http://www.school.net.th/


การใช้งานอุปกรณ์งานช่างปูน

   เกรียงเหล็ก  ใช้กับงานสี โป้วอุด ปาด หรือใช้งาน
ตามที่ต้องการมีให้เลือกหลายขนาดตามหน้ากว้างของเกรียงเหล็ก

 

เกรียงไม้ ใช้สำหรับตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ






1.ทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง


   2. ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในการททำงาที่ถูกต้องและปลอดภัย  เสื้อผ้าที่หลวมจะโดนเครื่องจักรดึงหรือกระชากได้ เสื้อที่มีแขวนยาวควนติดกระดุมข้อมือให้แน่น หรือพับให้ถึงข้อศอก เสื้อผ้าที่ควรใช้ทำงานไม่ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อฝึกงาน ควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับอื่นๆ ก่อนที่จะทำงานกับเครื่องมือ และเครื่องจักรควรสวมแว่นป้องกันแสงหรือป้องกันสายตา ประกอบด้วยเครื่องบังเพื่อป้องกันดวงตาจากเศษไม้ ตะปู ขี้เลื่อย และรอยเปื้อนต่างๆ ควรสวมเสื้อป้องกันหูเมื่อทำงานรอบๆ เครื่องจักรในระยะเวลานานๆ ควรเก็บหรือรวบรวมผมที่ยาวให้ห่างจากเครื่องจักรที่กำลังทำงาน การผูกผมไว้ด้านหลังหรือใช้ผ้าคลุมผม จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่ง

การรายงานอุบัติเหตุ


                     3. อย่าลืมคำว่า ความถูกต้อง ต้องมาเป็นอันดับแรก
                     4. คำขวัญที่ดีกล่าวได้ว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความปลอดภัย
                     5. หลีกเลี่ยงการเล่นอย่างคึกคะนองและให้ความสนใจป้ายเตือนต่างๆในโรงเรียน

การป้องกันตัวในการทำงาน

     การรายงานอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงเล็กน้อย และสิ่งที่ช่วยกันอันดับแรก คือ เมื่อมีแผลที่เกิดจากการตัดหรือขีดข่วน ซึ่งจะทำให้เชื้อ โรคเข้าไปในบาดแผลได้ หรือบางสิ่งบางอย่างเข้าตาแม้เพียงเล็กน้อย ต้องไปให้แพทย์ตรวจทันที
อ้างอิง : http://www.st.ac.th/engin/wood.html
 ไม้แบบ
                 ใช้ในการหล่อแผ่นคอนกรีต โดยทั่วๆ ไปแล้วสามารถหาวัสดุหลายชนิดนำมาทำเป็นไม้แบบได้ เช่น เหล็กแผ่น อลูมิเนียมแผ่น สังกะสีแผ่นเรียบ สังกะสีลูกฟูก กระดาษแข็ง พีวีซีแผ่นไม้อัด ไม้ วัสดุที่กล่าวมานี้ อาจใช้วัสดุจากส่วนที่เหลือจากงานอื่น ๆได้ การทำไม้แบบไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป อาจนำมาตัด, ดังแปลง ตามแนวความคิดของแต่ละบุคคล อาจจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยม และรูปอื่น ๆ ก็ได้ สำหรับไม้แบบที่จะกล่าวในบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ไม้ฉำฉา ซึ่งได้มาจากไม้ที่เป็นลังเป็นกล่องไม้ที่ใช้บรรจุสินค้ามาจำหน่ายแล้วทิ้ง กล่องไม้นี้ตามข้างถนนหรือที่บางแห่ง ซึ่งไม้ต้องการใช้อีกแล้วนำมาใช้ประโยชน์ทำไม้แบบในงานนี้ได้ ขนาดของไม้ฉำฉาที่ต้องการควรมีความหนา 1/2" กว้าง 2" ยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน และยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน นำมาไสให้เรียบทั้ง 4 ด้านและให้ได้ฉาก พยายามให้มีขนาดหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความกว้างต้องเท่ากันทุกท่อนคือประมาณ 5 เซนติเมตร ตวามยาว 40 เซนติเมตรจำนวน 2 ท่อน และความยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน ไม้ทั้ง 4 ท่อน นี้ควรไสให้ตรง ได้ฉากเพื่อจะประกอบกันง่ายขึ้น ไม้ดังกล่าวนี้ต้องไม่แตกร้าว บิดงอ มีตำหนิมากและรอยตำหนิใหญ่ ถ้าไม่มีตำหนิเลยยิ่งดี เป็นไม้ที่แห้งไม่เปื้อนเปรอะสี, น้ำมัน, ดิน, โคลน, กาว ควรเป็นไม้ที่มีผิวเกลี้ยงสะอาด เพื่อจะได้เป็นไม้แบบที่สมบูรณ์ที่สุด
กบล้างกลาง ใช้ในการไสไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

ฉากตายขนาด 12" ใช้ในการจับ ฉากของไม้ วัดฉากและ
ขีดเส้นก่อนทำการตัดไม้



ขอขีด ใช้ในการขีดไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วใช้กบไสให้ได้ตามแนวขอขีดนั้น

ดินสอช่างไม้ ใช้ขีดเส้นตามตำแหน่งที่ต้องการ

บรรทัดยาวหรือบรรทัดปาดปูน ใช้สำหรับฉาบปูนพื้นที่กว้างๆ

ค้อนหง้อน ใช้ตอกตะปูตีแบบ


เลื่อยลันดา ใช้สำหรับเลื่อยไม้






เลื่อยอก ใช้ตัดไม้เพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการ



จอบ และพลั่ว ใช้ขุดดินและคลุกเคล้าส่วนผสม
แปรงสลัดปูน ใช้สำหรับช่วยในการฉาบปูน
  การดูแลรักษาเครื่องมืองานช่างปูน
 
1.ดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่รอบๆ
2. เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
3. ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
4. ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
5. ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในที่ทำงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง

แหล่งอ้างอิง :  http://www.st.ac.th/engin/wood.html

การไฟฟ้านครหลวง




http://www.clipmass.com



การไฟฟ้านครหลวง - ดูคลิปทั้งหมด คลิกที่นี่

งานไฟฟ้า



วิธีช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด   
   ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกกระเเสไฟฟ้าดูดติดอยู่
อย่าใช้อวัยวะร่างกายของท่านแตะต้องร่างหรือเสื้อผ้าที่
เปียกชื้นของผู้ถูกไฟฟ้าดูดติดอยู่เป็นอันขาด มิฉะนั้นท่านอาจดูดไปด้วย การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้าให้เลือกใช้วิธี
ใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

      1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์หรือคัทเอาท์
หรือเต้าเสียบออก
      2. หากตัดกระแสไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเขี่ยสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าออกไปให้พ้น
      3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกเเห้งคล้องแขน ขา หรือลำตัว ผู้ถูกไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหากผู้ถูก
         ไฟดูดสลบหมดสติให้ทำการปฐมพยาบาลให้ฟื้นต่อไป


ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า

      1. อย่าใช้สวิทช์ปิด-เปิดไฟฟ้าบนเตียงนอน

เพราะอาจพลิกตัวนอนทับแตก จะถูกไฟฟ้าดูดได้
      2. อย่าเปิดวิทยุหรือใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำที่ชื้นแฉะ

ถ้ากระแสไฟฟ้ารั่วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
      3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกชำรุด ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยน
ให้เรียบร้อย
      4. อย่าใช้ข้อต่อแยก เสียบปลั๊กหลายทาง เป็นการใช้กระแส

ไฟเกินกำลัง อาจทำให้สายร้อนและเกิดไฟไหม้ได้
      5. อย่าใช้วัสดุอื่นแทนฟิวส์ หรือใช้ฟิวส์เกินขนาด
      6. อย่าปล่อยให้สายเครื่องไฟฟ้า เช่น พัดลม
ลอดใต้
เสื่อหรือพรม เปลือกหุ้มหรือฉนวนอาจแตกเกิดไฟช๊อตได้ง่าย
      7. อย่าเดินสายไฟชั่วคราวอย่างลวก ๆ อาจเกิดอันตรายได้
      8. อย่าแก้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
      9. อย่าเดินสายไฟติดรั้วสังกะสีหรือเหล็กโดยไม่ใช้

วิธีร้อยในท่อ ไฟฟ้าอาจรั่วเป็นอันตรายได้
    10. อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ เพราะน้ำจะเป็น

สะพานให้ไฟฟ้ารั่วไหลออกมาได้
    11. อย่าใช้เครื่องมือไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มเป็นที่จับ เช่น

ไขควง หัวแร้ง เครื่องวัดไฟฟ้า ฯลฯ
    12. อย่านำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสตรงไปใช้กับไฟกระแสสลับ

ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน
    13. สวิทช์และสะพานไฟ (Cut Out) ทุกแห่งต้องปิด-เปิดได้สะดวก
    14. อย่ายืนบนพื้นคอนกรีตด้วยเท้าเปล่าขณะปฏิบัติงานเกี่ยว

กับไฟฟ้า ควรใช้ผ้ายางหรือสวมใส่รองเท้า

ความปลอดภัยในปฏิบัติงานไฟฟ้า


      1. ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจดูเสียก่อนว่า เครื่องมือ

และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานไฟฟ้า ชำรุด  แตก หัก หรือเปล่า
      2. ก่อนปฏิบัติงาน เช่น การต่อสายไฟ ควรยกสะพานไฟ

(Cut Out) ออกเสียก่อน
      3. ขณะทำงานไม่ควรหยอกล้อกันเป็นอันขาด
      4. ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเมื่อไม่มีความแน่ใจ
      5. ขณะทำงานมือ เท้า ต้องแห้ง หรือสวมรองเท้า
      6. ก่อนปฏิบัติงาน ควรจะเขียนวงจรดูเสียก่อนเพื่อความไม่ประมาท
      7. เมื่อเสร็จงาน ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้า ควรตรวจสอบวงจร

ไฟฟ้าให้ละเอียดและถูกต้องเสียก่อน
      8. เมื่อจะจ่ายกระแสไฟฟ้าต้องดูให้แน่ใจ ว่าไม่มีใครปฏิบัติ

งานไฟฟ้าอยู่
      9. ไม่ควรนำฟิวส์ที่โตกว่าขนาดที่ใช้ หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น

 ลวดทองแดงแทนฟิวส์
    10. รอยต่อสายไฟฟ้า ต้องใช้ผ้าเทปพันสายให้เรียบร้อยเสียก่อน
    11. ต่อวงจรให้เสร็จเสียก่อน จึงนำปลายสายทั้งคู่เข้าแผงสวิทช์
    12. สายเครื่องมือไฟฟ้าต้องใช้ชนิดหุ้มฉนวน 2 ชั้น

ถ้าขาดต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น

http://www.supradit.com/




เราจะป้องกันอันตรายได้อย่างไร     
 กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปตามทางเดินไฟฟ้านั้น
ถ้ามีทางไหลของกระแสมากกว่าหนึ่งทางแล้ว
กระแสไฟฟ้าจะไหลไปในทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุด
 ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายมีความต้านทาน มากมีกระแส
ไฟฟ้าผ่านน้อย หรือไม่ไหลผ่านเลย จึงพอจำแนกวิธีป้องกัน
ได้ดังนี้

      1.การต่อสายดิน (Ground)

         เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างภายนอกเป็นโลหะ

 เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตารีด ปั๊มน้ำ สว่าน เป็นต้น
อุปกรณ์ ไฟฟ้าเหล่านี้ เมื่อมีการชำรุดของไฟฟ้า เช่น

ฉนวนเสี่อมสภาพ หรือมีการแตกหักของฉนวน ทำให้สายไฟ
ปสัมผัสกับโครงโลหะของเครื่องไฟฟ้านั้น ๆ
กระแสไฟฟ้าก็สามารถรั่วไหล มายังโครงสร้างนั้นได้และ
เมื่อมีผู้นำอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ในขณะที่ทำงานอยู่
กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวผู้ทำงาน หรือผู้สัมผัสอุปกรณ์
นั้นลงสู่ดินทำให้ได้รับอันตรายได้วิธีป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าวคือ
 การต่อสายดินโดยใช้สายไฟฟ้าต่อกับโครงสร้างส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นลงดิน เพื่อเป็นทางให้กระแส
ไฟฟ้าที่อาจจะรั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น  
(เพราะเหตุเนื่องจากฉนวนเสื่อมสภาพหรือฉีกขาด)
ไหลลงสู่ดินโดยผ่านทางสายดินที่ได้ต่อไว้ แทนที่จะไหลผ่านตัวผู้
ใช้งานหรือผู้ที่ไปสัมผัสอุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งวิธีการป้องกันโดย
ช้สายดินนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป



  อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดมีสายเดินต่อให้เรียบร้อยแล้ว
ปลั๊กไฟที่ใช้งานจึงมี 3 ขาดังนั้น การนำมาใช้งานจึงควรจัด
เตรียมเต้าเสียบที่มีสายดินพร้อมอยู่แล้ว คือ เดินสายไฟไว้

3 เส้น โดยใช้เส้นหนึ่งเป็นสายเชื่อมต่อลงดินหรือเดินสายร้อยท่อ
โลหะและใช้ท่อโลหะเป็นสายดินหรือถ้าเดินสายไฟฟ้าไว้เป็นชนิด

2 เส้น อยู่แล้ว ก็ให้เดินสายเพิ่มอีกเส้นหนึ่งเพื่อใช้เป็นสาย
ดิน โดยที่สายดินที่ใช้จะต้องโตไม่น้อยกว่า 1/3 ของสายไฟฟ้า

ทั้งสองเส้นที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดที่ไม่มี
สายดินผู้ใช้งานก็ควรจะต่อสายดินจากโครงโลหะของเครื่อง

ไฟฟ้านั้นลงดินโดยตรง ซึ่งอาจจะต่อสายดินเข้ากับท่อประปา
ที่เป็นโลหะหรือต่อเข้ากับแท่งโลหะไร้สนิม (Ground Rod)

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซ.ม ยาวไม่น้อยกว่า 150 ซ.มและ
ฝังลึกจากผิวดินอย่างน้อย 30 ซ.ม ก็จะได้ระบบสายดินที่สมบูรณ์

อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นก็จะไม่มี

 2. การใช้ฉนวนป้องกันไฟฟ้า (Insulation)

         ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าหรือหุ้มสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นั้น

เป็นสิ่งที่ชำรุดฉีกขาดได้ และฉนวนหุ้มสายจะชำรุดง่าย
ยิ่งขึ้นถ้าผู้ใช้งานใช้อย่างขาดการทะนุถนอมและไม่เอาใจใส่ เ

ช่น การดึงหรือกระชากผ่าน ของมีคมหรือวัตถุที่มีขอบหรือ
มุมแข็ง การวางไว้ในทางที่มีการเหยียบไปมา หรือมีวัตถุหนัก ๆ

เคลื่อนทับอยู่เสมอ ก็เป็นเหตุให้ฉนวนชำรุดเสียหายได้
นอกจากนี้การต่อสายไฟฟ้าใช้งานอย่างชั่วคราวมักจะใช้

ตะปูตอกกดทับไว้ ทำให้ฉนวนชำรุด กลายเป็นสายเปลือยไปจุดต่อ
ต่าง ๆ ที่ต่อไว้มิได้มีการพันฉนวนป้องกันซึ่งจะกลายเป็นจุดอันตราย

ไปด้วยสิ่งเหล่านี้ถ้าผู้ใช้งานละเลยไม่ให้ความเอาใจใส่
ก็จะนำอันตรายมาสู่ตัวผู้ใช้งานได้




  เพื่อเป็นการป้องกัน จึงควรหมั่นตรวจสภาพฉนวนของสายไฟฟ้า
หรือสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อหารอยแตกปริ หรือฉีกขาดโดย
เฉพาะอย่างยิ่งตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ขั้วหลอด ปลั๊ก
ถ้าพบว่ามีการชำรุดอย่าปล่อยทิ้งไว้ควรรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทันที
http://www.supradit.com

งานไฟฟ้า

งานไฟฟ้า

ความหมายของงานไฟฟ้า

งานไฟฟ้า  หมายถึง  การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าใน
การสร้างหรือผลิต  การซ่อมแซม การปรับปรุง การติดตั้ง
อุปกรณ์หรือ วงจรไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย
 เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน
   งานไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ 

ดังนี้
   1. งานไฟฟ้าใช้ในการสร้างเครื่องมือ 

 เครื่องใช้ต่าง ๆ  ที่ให้พลังงานความร้อน 
 พลังงานแสงสว่าง  พลังงานกลที่มีความจำเป็น
ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง 
เช่น  เครื่องทำน้ำอุ่น  เครื่องปรับอากาศ หลอดไส้ 
หลอดฟลูออเรสเซนต์  ลิฟต์  บันไดเลื่อน  เป็นต้น 
   2. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบสื่อสาร  คมนาคม

  ให้สะดวกเจริญก้าวหน้า  เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์ 
 โทรศัพท์  รถไฟฟ้า  เป็นต้น
   3. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบการผลิตสินค้าของ

โรงงานอุตสาหกรรม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานไฟฟ้า
    ไฟฟ้า เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง  ที่เป็นส่วนประกอบ
อยู่ในวัตถุธาตุทุกชนิด  ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก
 ที่เรียกว่า "อะตอม" แต่ละอะตอมจะประกอบด้วยโปรตอน 
นิวตรอน  และอิเล็กตรอนอยู่มากมาย โดยที่โปรตอนกับ
นิวตรอนจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่  อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่
จากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งอย่างรวดเร็ว
 การเคลื่อนที่นี้เรียกว่า "กระแสไฟฟ้า"  ซึ่งมีอยู่  ๒  ชนิด 
 คือ  ไฟฟ้าสถิตและไฟฟ้ากระแส  ปัจจุบันความก้าวหน้า
ทางไฟฟ้ามีมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทาง
เทคโนโลยีเกี่ยวกับงานไฟฟ้า  โดยเฉพาะทางด้าน
อิเล็กทรอนิกส์ และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก  โดยการนำมาเป็น
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับ มนุษย์ 
เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า  โทรทัศน์  ตู้เย็น  พัดลม และแสงไฟ
ที่ให้ความสว่างในเวลากลางคืนแทนการใช้เทียนหรือ
ตะเกียง  ระบบเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม 
และระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า  เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
ในปัจจุบันมีผลเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจ
และสังคมเป็นอย่างมาก




หลักความปลอดภัย
 




หลักความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า  
   ปัจจุบันไฟฟ้ามีการจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมาก
ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธถึงความสะดวกสบายที่ได้รับจากการ
ใช้ไฟฟ้ารวมถึงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจต้องใช้ไฟฟ้า
เป็นปัจจัยสำคัญ ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมายก็จริงแต่ในเวลา
เดียวกันก็มีอันตรายอยู่ในตัวของมันเองถ้ารู้จักใช้ก็จะ
ได้ประโยชน์มหาศาล  ถ้าใช้ผิดวิธีก็อาจจะได้รับอันตราย
ถึงชีวิต จึงควรเข้าใจและรู้พื้นฐานทางด้านความปลอดภัย
ในการใช้ไว้บ้างเพราะความประมาทหรือเพิกเฉยต่อสิ่ง
ที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็อาจนำมาสู่ความหาย
นะและการสูญเสียต่างๆในชีวิตประจำวันของเรา
ตั้งแต่เช้าขึ้นมาไฟฟ้าเข้ามามีส่วนพัวพันกับการดำเนิน
ชีวิตตลอดทั้งวันจนกระทั่งเข้านอนก็ยังใช้ไฟฟ้าแต่ทว่า 
มาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในบ้านผู้ใช้ยัง
ไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรดังนั้นความปลอดภัยในการ
ใช้ไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับความสนใจ ในการศึกษา
ไฟฟ้าทำอันตรายให้แก่ร่างกายได้ผู้ที่จะได้รับอันตราย
จากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเนื่องจากส่วนหนึ่งส่วนใดของ
ร่างกายบังเอิญไปแตะและต่อเป็นส่วนหนึ่งในวงจร
ไฟฟ้าหรือสัมผัสถูกสายสองเส้นหรือเพียงเส้นเดียว
หรืออาจจะไปสัมผัสถูกวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล
แต่เพียงจุดเดียวในขณะที่ร่างกายส่วนอื่นสัมผัสอยู่กับ
พื้นดินครบวงจรทำให้เกิดอันตรายเเก่ร่างกายขึ้น

     ไฟฟ้าให้โทษแก่มนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น

    1.เป็นอันตรายแก่ชีวิต  
     สิ่งที่ทำให้เสียชีวิตหรือได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บ
คือ การไหลของกระแสไฟฟ้า(วัดเป็นจำนวนแอมแปร์)
ซึ่งจะมีปริมาณ เพียงเล็กน้อย   ถ้าเป็นกระแสไฟสลับก็
สามารถจะทำอันตรายถึงเสียชีวิตได้ถ้าหากว่ากระแสไฟฟ้า
นั้นได้ไหลผ่านอวัยวะที่สำคัญ ๆ เช่น หัวใจ อันตรายต่าง ๆ
 ที่เกิดขึ้นกับร่างกายมีอาการ 4 อย่าง คือ

              1.1 กล้ามเนื้อแข็งตัว
              1.2 หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และหยุดทำงาน
              1.3 เซลล์ภายในร่างกายถูกทำลาย
              1.4 ระบบประสาทชะงัก

    2.เป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน     
  อันตรายต่อทรัพย์สิน ได้แก่ การเกิดเพลิงไหม้และระเบิด ทำให้ทรัพย์สินเสียหายปีละมากๆ เนื่องจากความประมาท
หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์




          โดยปกติแล้ว สภาพร่างกายแต่ละส่วนของคนเราจะมี
ความต้านทานกระแสมากน้อยไม่เท่ากัน ในขณะที่ผิวหนังแห้ง
สนิทจะมีความต้านทานประมาท 100,000-600,000 โอห์ม
แต่ถ้าเกิดมีความชื้นหรือเหงื่อ เพียงเล็กน้อย ความต้านทาน
จะลดลงเหลือเพียง 800-1,000 โอห์ม เท่านั้นดังนั้นกระเเส
ไฟฟ้าจึงสามารถผ่านร่างกายได้โดยง่ายอันตรายที่จะได้รับนั้น
ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ถ้ามีกระแสไฟฟ้า
ไหลผ่านน้อยก็ได้รับอันตรายน้อย ถ้าไหลผ่านมากอันตราย
ที่ได้้รับก็มีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับซึ่งพอสรุปปริมาณของกระแส
ฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกายได้ดังนี้

จำนวนกระแสไฟฟ้า
อาการหรืออันตรายที่เกิดขึ้นเเก่ร่างกาย
1-3 มิลลิแอมแปร์
กล้ามเนื้อกระตุกเลกน้อย ไม่ถึงขั้นอันตรายแต่ก็อาจดิ้นไม่ยอมหลุด
8 มิลลิแอมแปร์
กล้ามเนื้อกระตุกรุนเเรง เป็นเหตุให้ล้มฟาดหรือตกจากที่สูง
10 มิลลิแอมแปร์
กล้ามเนื้อกระตุกรุนเเรงยิ่งขึ้น และอาจได้รับบาดแผล ไหม้ พองด้วย

      เนื่องจากผู้ที่ถูกไฟฟ้าช๊อต ส่วนมากไม่สามารถบังคับตัวเอง
ให้หลุดพ้นจากไฟฟ้าจึงถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
เป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าไม่มีบุคคลอื่นช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

อันตรายที่ได้รับก็จะสาหัสมากขึ้น คือหัวใจเต้นรัวเร็วหรือ
ช้าซึ่งอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต ถ้าระยะเวลานานกว่ากำหนด ดังน
ี้


15 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า
2 นาท
20 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า
1 นาที
30 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า
35 วินาที
100 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า
3 วินาท
500 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า
11/100 วินาท
* 1,000 มิลลิแอมแปร์นานกว่า
1/100 วินาที

      * กล้ามเนื้อบริเวณทรวงอกขยายตัวมากถ้าไม่ได้รับการช่วย
เหลื อย่างทันท่วงที นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีองค์ประกอบอื่นๆ
อีก เช่น ตำแหน่งที่สัมผัส กล่าวคือ ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
ร่างกายบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น บริเวณศีรษะ
หรือทรวงอก อันตรายที่ได้รับจะมีมากกว่ากระแสไฟฟ้า

ไหลผ่านส่วนอื่นของร่างกาย และถ้าร่างกายถูกกระแสไฟฟ้า
เป็นบริเวณกว้าง อันตรายก็อาจจะสาหัสมากขึ้นด้วย

http://www.supradit.com


วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานไม้

งานไม้

ความหมายของงานช่างไม้
      งานไม้     หมายถึง  งานช่างที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ต้องมี
ความอดทน ขยัน มีความรับผิดชอบสูง  สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติ
ที่เป็นไม้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม 
ทั้งที่จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและกระบวนการในการใช้ 
จึงจะสามารถทำงาน  ไม้ได้อย่างสวยงาม  เรียบร้อย มีประสิทธิภาพใ
นการใช้เครื่องมือและใช้วัสดุ  ปัจจุบันไม้มีคุณค่ามาก  หายาก 
 เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปเกือบหมด  จนต้องใช้วัสดุอื่น ๆ มาทดแทนไม้ 
 เช่น  พลาสติก  โลหะ  งานช่างไม้ในงานช่างพื้นฐานเป็นงานช่างไม้เบื้องต้น  สามารถปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง  เช่น  การรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ 
วิธีการใช้วัสดุ  และการเก็บรักษา  การซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน  เป็นต้น



ความปลอดภัย
ความปลอดภัยนับว่าเป็นความสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงาน
เมื่อใดที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท
จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก
ความปลอดภัยถูกตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ
ผ่านหน่วยงานการป้องกันความปลอดภัยและ
สุขภาพตามพระราชบัญญัติ มีการวางระเบียบการป้องกัน
ของลูกจ้างในรูปแบบของการททำงานการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ
 มาปฏิบัติ ปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ในโรงเรียนด้วย
นอกจากนี้ยังได้กำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องของงการรักษา
มลภาวะทางเสียงและอากาศเพิ่มเข้าไปในมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
            ในการทำงานไม้จะต้องเตรียมความพร้อมเสมอ
ในเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องจักรกลต่างๆ
 และพื้นที่ทำงาน เพราะบางครั้งการทำบางสิ่งโดยไม่ไตร่ตรอง
อาจเกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่รู้ตัว การทำงานที่ประมาทจะ
เป็นอันตรายอย่างยิ่ง หรือให้เกิดความผิดพลาดต่องานได้
ก่อนที่จะเริ่มทำงานจึงควรปฏิบัติดังนี้
-         เรียนรู้เรื่องกฎความปลอดภัย
-         ทำงานตามขั้นและเวลา
-         รู้ว่าส่วนไหนและวิธีการป้องกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ




ความปลอดภัยในการทำงาน

1.      ทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
2.      ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในการททำงาที่ถูกต้องและปลอดภัย
3.      อย่าลืมคำว่า ความถูกต้อง ต้องมาเป็นอันดับแรก
4.      คำขวัญที่ดีกล่าวได้ว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความปลอดภัย
5.      หลีกเลี่ยงการเล่นอย่างคึกคะนอง
 และให้ความสนใจป้ายเตือนต่างๆ ในโรงเรียน

การป้องกันตัวในการทำงาน

1.   เสื้อผ้าที่หลวมจะโดนเครื่องจักรดึงหรือกระชากได้
เสื้อที่มีแขวนยาวควนติดกระดุมข้อมือให้แน่น
หรือพับให้ถึงข้อศอก เสื้อผ้าที่ควรใช้ทำงานไม่ควรเ
ป็นเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อฝึกงาน
2.      ควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับอื่นๆ
ก่อนที่จะทำงานกับเครื่องมือ และเครื่องจักร
3.   ควรสวมแว่นป้องกันแสงหรือป้องกันสายตา
ประกอบด้วยเครื่องบังเพื่อป้องกันดวงตาจากเศษไม้
ตะปู ขี้เลื่อย และรอยเปื้อนต่างๆ ดังรูปที่ 2.3
4.      ควรสวมเสื้อป้องกันหูเมื่อทำงานรอบๆ เครื่องจักรในระยะเวลานานๆ
5.   ควรเก็บหรือรวบรวมผมที่ยาวให้ห่างจาก
เครื่องจักรที่กำลังทำงาน การผูกผมไว้ด้านหลังหรือ
ใช้ผ้าคลุมผม จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่ง

การใช้เครื่องมือ

1.   เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง
 และเข้าใจกฎความปลอดภัยของเครื่องมือ
และเครื่องจักรที่ซื้อมา ตลอดจนเรียนรู้คำเตือน
จากป้ายสัญญาณ เช่น ป้ายหยุดดังรูปที่ 2.4
2.   เครื่องตัดไม้ที่คมจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและดี
ส่วนใบมีดที่ไม่คมจะทำให้ลื่นและอาจพลาดไป
ถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
3.      ไม่ควรทดสอบความคมของเครื่องมือด้วย
อวัยวะของร่างกาย แต่ควรใช้ไม้หรือกระดานแทน
4.      นิ้วมือควรจะให้ห่างจากคมมีดของเครื่องมือ
 และใช้ไม้หรือวัสดุอื่นตัด ดังรูป 2.5
5.      ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้นิ้วหรือมือในการสตาร์ตเครื่องจักร
6.   ต้องมั่นใจว่าเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในสภาพดี
ควรตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่แตกหักหรือหลวม
 เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
7.   ต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดวิธี เช่น ไม่ควรใช้สิ่วเปิดกล่อง
ไม้หรือกระป๋อง ต้องใช้เครื่องมือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง

การเก็บรักษาเครื่องมือ

1.      ดูแลรักษาความสะอาดบนโต๊ะฝึกงานและพื้นที่รอบๆ
2.      เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
3.      ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี
เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
4.      ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
5.   ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน
 เพราะความสะอาดในโรงงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง


ความหมายและความสำคัญของงานช่าง
                ช่าง  หมายถึง  ผู้ชำนาญในการฝีมือ  หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
          งานช่าง  หมายถึง  การทำงาน  หรือสิ่งที่เกิดจากการทำงานของช่าง
  ซึ่งมีหลายประเภทหลายสาขา  ผู้เป็นช่างจึงมักมีคำต่อท้าย 
เพื่อบอกประเภทหรือสาขาของงานที่ทำ  เช่น  ช่างไฟฟ้า 
ช่างประปา  ช่างไม้  ช่างปูน  ช่างโลหะ  ช่างเขียน  ช่างผม 
ช่างเสริมสวย  เป็นต้น
                ช่างที่ดีนอกจากจะมีความรู้ในงานของตนแล้ว 
 ยังต้องมีฝีมือหรือศิลปะในการทำงานด้วย  ความรู้เกี่ยวกับงาน
ช่างอาจได้จากการบอกเล่าสืบต่อกันมา  หรือจากการศึกษาเล่าเรียน
ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ประสบการณ์ในการทำงานของช่าง 
นอกจากจะสร้างเสริมความรู้ของช่างแล้ว  ยังช่วยให้มีความ
ชำนาญในฝีมือการทำงาน
                งานช่างพื้นฐาน  หมายถึง  งานช่างเบื้องต้นที่ทุกคน
สามารถทำได้ด้วยตนเอง  งานช่างพื้นฐานส่วนใหญ่จึงเป็น
งานเกี่ยวกับงานซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านที่
ชำรุดเสียหาย        เล็ก ๆ น้อย ๆ  หรือสร้างสิ่งของเครื่องใช้ง่าย ๆ
 ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนนัก  เช่น  การเดินสายไฟฟ้าในบ้าน
  การเดินสายโทรศัพท์  การเปลี่ยนก๊อกน้ำ  การต่อท่อประปา 
 การซ่อมแซมโต๊ะ  เก้าอี้  รั้ว  กันสาด  ผนังและถนนหรือ
ทางเดินเท้าภายในบ้าน  เป็นต้น

ประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน
     ประโยชน์โดยตรง  ที่เห็นได้ชัดเจนคือการมีความรู้พื้นฐาน
เกี่ยวกับงานช่างเป็นการประหยัด    ทั้งค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ้างช่าง
อาชีพแล้วยังประหยัดเวลา  ไม่ต้องเสียเวลารอคอยว่าจะหาช่าง
อาชีพได้  หรือแม้ว่าจะต้องว่าจ้างช่างอาชีพก็สามารถควบคุมดูแล
การทำงาน  ผลงาน  ไม่ให้ช่างเอารัดเอาเปรียบได้
             ประโยชน์โดยอ้อม  เช่น  การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 
 การซ่อมหรือสร้างสิ่งของเครื่องใช้ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
 สนุกสนานในการทำงานเช่นเดียวกับการทำงานอดิเรกอื่น  ๆ
นอกจากนั้นจากผลของการทำงาน  ยังทำให้เกิดความรู้ความชำนาญ 
 สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ ช่างอาชีพได้  แม้ไม่ต้องทำเป็นอาชีพโดยตรง 
 ก็อาจทำเป็นอาชีพเสริม  เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี