เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
My habits. I think I see people talking outside it looks like a really good, but I was elated. Good-natured like smiling. I would love to be with their parents and my friends, it makes me happy. I like Korean music. Like yellow blue. Green I was born 04/12/1993. I prefer to work to support teachers at the school. I learned at school bungkan.

I'am A'ngun ฉันองุ่นคร๊~

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานไฟฟ้า



วิธีช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด   
   ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกกระเเสไฟฟ้าดูดติดอยู่
อย่าใช้อวัยวะร่างกายของท่านแตะต้องร่างหรือเสื้อผ้าที่
เปียกชื้นของผู้ถูกไฟฟ้าดูดติดอยู่เป็นอันขาด มิฉะนั้นท่านอาจดูดไปด้วย การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้าให้เลือกใช้วิธี
ใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

      1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์หรือคัทเอาท์
หรือเต้าเสียบออก
      2. หากตัดกระแสไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเขี่ยสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าออกไปให้พ้น
      3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกเเห้งคล้องแขน ขา หรือลำตัว ผู้ถูกไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหากผู้ถูก
         ไฟดูดสลบหมดสติให้ทำการปฐมพยาบาลให้ฟื้นต่อไป


ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า

      1. อย่าใช้สวิทช์ปิด-เปิดไฟฟ้าบนเตียงนอน

เพราะอาจพลิกตัวนอนทับแตก จะถูกไฟฟ้าดูดได้
      2. อย่าเปิดวิทยุหรือใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำที่ชื้นแฉะ

ถ้ากระแสไฟฟ้ารั่วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
      3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกชำรุด ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยน
ให้เรียบร้อย
      4. อย่าใช้ข้อต่อแยก เสียบปลั๊กหลายทาง เป็นการใช้กระแส

ไฟเกินกำลัง อาจทำให้สายร้อนและเกิดไฟไหม้ได้
      5. อย่าใช้วัสดุอื่นแทนฟิวส์ หรือใช้ฟิวส์เกินขนาด
      6. อย่าปล่อยให้สายเครื่องไฟฟ้า เช่น พัดลม
ลอดใต้
เสื่อหรือพรม เปลือกหุ้มหรือฉนวนอาจแตกเกิดไฟช๊อตได้ง่าย
      7. อย่าเดินสายไฟชั่วคราวอย่างลวก ๆ อาจเกิดอันตรายได้
      8. อย่าแก้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
      9. อย่าเดินสายไฟติดรั้วสังกะสีหรือเหล็กโดยไม่ใช้

วิธีร้อยในท่อ ไฟฟ้าอาจรั่วเป็นอันตรายได้
    10. อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ เพราะน้ำจะเป็น

สะพานให้ไฟฟ้ารั่วไหลออกมาได้
    11. อย่าใช้เครื่องมือไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มเป็นที่จับ เช่น

ไขควง หัวแร้ง เครื่องวัดไฟฟ้า ฯลฯ
    12. อย่านำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสตรงไปใช้กับไฟกระแสสลับ

ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน
    13. สวิทช์และสะพานไฟ (Cut Out) ทุกแห่งต้องปิด-เปิดได้สะดวก
    14. อย่ายืนบนพื้นคอนกรีตด้วยเท้าเปล่าขณะปฏิบัติงานเกี่ยว

กับไฟฟ้า ควรใช้ผ้ายางหรือสวมใส่รองเท้า

ความปลอดภัยในปฏิบัติงานไฟฟ้า


      1. ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจดูเสียก่อนว่า เครื่องมือ

และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานไฟฟ้า ชำรุด  แตก หัก หรือเปล่า
      2. ก่อนปฏิบัติงาน เช่น การต่อสายไฟ ควรยกสะพานไฟ

(Cut Out) ออกเสียก่อน
      3. ขณะทำงานไม่ควรหยอกล้อกันเป็นอันขาด
      4. ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเมื่อไม่มีความแน่ใจ
      5. ขณะทำงานมือ เท้า ต้องแห้ง หรือสวมรองเท้า
      6. ก่อนปฏิบัติงาน ควรจะเขียนวงจรดูเสียก่อนเพื่อความไม่ประมาท
      7. เมื่อเสร็จงาน ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้า ควรตรวจสอบวงจร

ไฟฟ้าให้ละเอียดและถูกต้องเสียก่อน
      8. เมื่อจะจ่ายกระแสไฟฟ้าต้องดูให้แน่ใจ ว่าไม่มีใครปฏิบัติ

งานไฟฟ้าอยู่
      9. ไม่ควรนำฟิวส์ที่โตกว่าขนาดที่ใช้ หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น

 ลวดทองแดงแทนฟิวส์
    10. รอยต่อสายไฟฟ้า ต้องใช้ผ้าเทปพันสายให้เรียบร้อยเสียก่อน
    11. ต่อวงจรให้เสร็จเสียก่อน จึงนำปลายสายทั้งคู่เข้าแผงสวิทช์
    12. สายเครื่องมือไฟฟ้าต้องใช้ชนิดหุ้มฉนวน 2 ชั้น

ถ้าขาดต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น

http://www.supradit.com/




เราจะป้องกันอันตรายได้อย่างไร     
 กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปตามทางเดินไฟฟ้านั้น
ถ้ามีทางไหลของกระแสมากกว่าหนึ่งทางแล้ว
กระแสไฟฟ้าจะไหลไปในทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุด
 ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายมีความต้านทาน มากมีกระแส
ไฟฟ้าผ่านน้อย หรือไม่ไหลผ่านเลย จึงพอจำแนกวิธีป้องกัน
ได้ดังนี้

      1.การต่อสายดิน (Ground)

         เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างภายนอกเป็นโลหะ

 เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตารีด ปั๊มน้ำ สว่าน เป็นต้น
อุปกรณ์ ไฟฟ้าเหล่านี้ เมื่อมีการชำรุดของไฟฟ้า เช่น

ฉนวนเสี่อมสภาพ หรือมีการแตกหักของฉนวน ทำให้สายไฟ
ปสัมผัสกับโครงโลหะของเครื่องไฟฟ้านั้น ๆ
กระแสไฟฟ้าก็สามารถรั่วไหล มายังโครงสร้างนั้นได้และ
เมื่อมีผู้นำอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ในขณะที่ทำงานอยู่
กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวผู้ทำงาน หรือผู้สัมผัสอุปกรณ์
นั้นลงสู่ดินทำให้ได้รับอันตรายได้วิธีป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าวคือ
 การต่อสายดินโดยใช้สายไฟฟ้าต่อกับโครงสร้างส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นลงดิน เพื่อเป็นทางให้กระแส
ไฟฟ้าที่อาจจะรั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น  
(เพราะเหตุเนื่องจากฉนวนเสื่อมสภาพหรือฉีกขาด)
ไหลลงสู่ดินโดยผ่านทางสายดินที่ได้ต่อไว้ แทนที่จะไหลผ่านตัวผู้
ใช้งานหรือผู้ที่ไปสัมผัสอุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งวิธีการป้องกันโดย
ช้สายดินนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป



  อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดมีสายเดินต่อให้เรียบร้อยแล้ว
ปลั๊กไฟที่ใช้งานจึงมี 3 ขาดังนั้น การนำมาใช้งานจึงควรจัด
เตรียมเต้าเสียบที่มีสายดินพร้อมอยู่แล้ว คือ เดินสายไฟไว้

3 เส้น โดยใช้เส้นหนึ่งเป็นสายเชื่อมต่อลงดินหรือเดินสายร้อยท่อ
โลหะและใช้ท่อโลหะเป็นสายดินหรือถ้าเดินสายไฟฟ้าไว้เป็นชนิด

2 เส้น อยู่แล้ว ก็ให้เดินสายเพิ่มอีกเส้นหนึ่งเพื่อใช้เป็นสาย
ดิน โดยที่สายดินที่ใช้จะต้องโตไม่น้อยกว่า 1/3 ของสายไฟฟ้า

ทั้งสองเส้นที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดที่ไม่มี
สายดินผู้ใช้งานก็ควรจะต่อสายดินจากโครงโลหะของเครื่อง

ไฟฟ้านั้นลงดินโดยตรง ซึ่งอาจจะต่อสายดินเข้ากับท่อประปา
ที่เป็นโลหะหรือต่อเข้ากับแท่งโลหะไร้สนิม (Ground Rod)

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซ.ม ยาวไม่น้อยกว่า 150 ซ.มและ
ฝังลึกจากผิวดินอย่างน้อย 30 ซ.ม ก็จะได้ระบบสายดินที่สมบูรณ์

อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นก็จะไม่มี

 2. การใช้ฉนวนป้องกันไฟฟ้า (Insulation)

         ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าหรือหุ้มสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นั้น

เป็นสิ่งที่ชำรุดฉีกขาดได้ และฉนวนหุ้มสายจะชำรุดง่าย
ยิ่งขึ้นถ้าผู้ใช้งานใช้อย่างขาดการทะนุถนอมและไม่เอาใจใส่ เ

ช่น การดึงหรือกระชากผ่าน ของมีคมหรือวัตถุที่มีขอบหรือ
มุมแข็ง การวางไว้ในทางที่มีการเหยียบไปมา หรือมีวัตถุหนัก ๆ

เคลื่อนทับอยู่เสมอ ก็เป็นเหตุให้ฉนวนชำรุดเสียหายได้
นอกจากนี้การต่อสายไฟฟ้าใช้งานอย่างชั่วคราวมักจะใช้

ตะปูตอกกดทับไว้ ทำให้ฉนวนชำรุด กลายเป็นสายเปลือยไปจุดต่อ
ต่าง ๆ ที่ต่อไว้มิได้มีการพันฉนวนป้องกันซึ่งจะกลายเป็นจุดอันตราย

ไปด้วยสิ่งเหล่านี้ถ้าผู้ใช้งานละเลยไม่ให้ความเอาใจใส่
ก็จะนำอันตรายมาสู่ตัวผู้ใช้งานได้




  เพื่อเป็นการป้องกัน จึงควรหมั่นตรวจสภาพฉนวนของสายไฟฟ้า
หรือสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อหารอยแตกปริ หรือฉีกขาดโดย
เฉพาะอย่างยิ่งตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ขั้วหลอด ปลั๊ก
ถ้าพบว่ามีการชำรุดอย่าปล่อยทิ้งไว้ควรรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทันที
http://www.supradit.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น