เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
My habits. I think I see people talking outside it looks like a really good, but I was elated. Good-natured like smiling. I would love to be with their parents and my friends, it makes me happy. I like Korean music. Like yellow blue. Green I was born 04/12/1993. I prefer to work to support teachers at the school. I learned at school bungkan.

I'am A'ngun ฉันองุ่นคร๊~

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์สำหรับทำงานไม้

 อุปกรณ์สำหรับทำงานไม้


เครื่องมือช่างพื้นฐาน
                เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างมีอยู่มากมายหลายชนิด 
แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งาน   ที่แตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละประเภท 
เช่น  งานไม้  งานโลหะ  งานไฟฟ้า  งานปูน  และงานประปา  เป็นต้น 
 เครื่องมือบางชนิดอาจใช้ประโยชน์ได้หลายงาน 
 เช่น  ค้อน  เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งงานไม้และงานปูน 
 เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้  4  ประเภท  ดังนี้
   เครื่องมือประเภทวัด
บรรทัดเหล็ก                                             








  ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
 การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

 
ฉากเหล็ก



 


ลักษณะการใช้งาน  ใช้สำหรับวัดระยะทางและมุม
 การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน


ตลับเมตร







  ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
  การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน   
  เครื่องมือประเภทตัด
           เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดไม้หรือโลหะหรือวัสดุอื่น ๆ 
เครื่องมือตัดที่ใช้ในงานช่างมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน  มีตัดต่อไปนี้
  เลื่อย  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัด  ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นบาง ๆ
 มีฟันเป็นซี่  ซึ่งเลื่อยที่นิยมใช้กันทั่วไป  คือ


เลื่อยลันดา






เลื่อยลันดา  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ  เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก 
 เลื่อยใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้  มีฟันถี่จำนวนฟัน 
 8-12  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  เลื่อยโกรกจะมีฟันห่างจำนวน 
5-8  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  ใช้สำหรับผ่าไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้
    
   เลื่อยหางหนู





เลื่อยหางหนูลักษณะใบเลื่อยเรียวยาวไปตลอดแนว  
 ใช้ในงานฉลุ  แต่งวัตถุรูปทรงกลม 
หรือส่วนโค้ง  ที่มีความยาวไม่มากนัก
  เลื่อยตัดเหล็ก  (เลื่อยมือ)





   เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยมือ 
 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานโลหะเป็นส่วนใหญ่
  ส่วนประกอบคือตัวเลื่อย  และใบเลื่อย  ตัวเลื่อยเป็น
โครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า 
มีความเหนียวมาก  ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ
        การใช้และการเก็บบำรุงรักษาเลื่อย
       1.  ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ 
 หลังจากทำความสะอาดซี่เลื่อย ออกหมดเรียบร้อยแล้ว
        2.  ถอดใบเลื่อยมือออกจากตัวเลื่อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
       3.  ทาด้วยน้ำมันเครื่อง  เพื่อรักษาใบเลื่อยไม่ให้เป็นสนิม
      4.  เก็บใส่กล่องเพื่อป้องกันความชื้น  และเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
    เครื่องมือประเภทตอก
     เครื่องมือประเภทตอก  ได้แก่  ค้อน
  นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ประจำบ้าน
  เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้สะดวก  เป็นพื้นฐานของงานช่างประจำบ้าน
  ค้อนมีหลายชนิด  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานดังนี้
ค้อนหงอน





   ค้อนหงอน  เป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป
  มีส่วนประกอบ  2  ส่วน  คือ  ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน 
ส่วนมากใช้กับงานช่างไม้  ในการจับยึดแน่นด้วยตะปู
  จึงมีทั้งการตอกและถอนตะปูอยู่เสมอ  ค้อนหงอนจึง
ทำหน้าที่ทั้งตอกและถอนตะปู  การจับค้อนที่ถูกวิธี
ควรจับตรงปลายของด้ามค้อน  และเหวี่ยงน้ำหนักให้พอเหมาะ 
ตะปูจะได้ไม่คดงอ
ค้อนหัวกลม







   ค้อนหัวกลม 
เป็นค้อนที่ใช้กับงานโลหะ  ใช้ในงานตอก 
หรือทุบโลหะพับโลหะหรือเคาะโลหะ
ให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ

ค้อนหัวเหลี่ยม








ค้อนหัวเหลี่ยมหรือค้อนเล็ก  
มีรูปร่างเล็ก  น้ำหนักเบา  ใช้ในงานตอกเข็มขัดรัดสายไฟ 
 และงานไฟฟ้าทั่วไป  ซึ่งเรียกกันติดปากว่า 
ค้อนตอกสายไฟหรือค้อนเดินสายไฟ
  รูปร่างลักษณะของหัวค้อนด้านหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 
 ด้านหลังจะเรียวแบนโค้งเล็กน้อยตามความเหมาะสม 
เพื่อสะดวกในการใช้งานบริเวณที่เข้ามุมหรือพื้นที่แคบ ๆ   
            
  การใช้และการเก็บบำรุงรักษาค้อน 

แบ่งออกได้ดังนี้
        1.  ก่อนการใช้งาน  ก่อนใช้ควรตรวจความเรียบร้อยของ
ตัวด้ามและหัวค้อนให้แน่นและแข็งแรง
       2.  ถอนตะปูด้วยความระมัดระวัง  ถ้าตะปูตัวโตหรือแน่นมาก 
 การถอนควรใช้ไม้รองหัวค้อนเพื่อผ่อนแรง  แล้วค่อย ๆ
งัดโดยออกแรงเพิ่มทีละน้อย  ถ้างัดแรง ๆ ด้ามค้อนอาจจะหักชำรุดได้
      3.  หลังจากการใช้งาน  เมื่อเลิกใช้งานควรทำความสะอาด 
และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย         


  เครื่องมือประเภทเจาะ  
สว่านเฟือง





    

    สว่านเฟือง
  เป็นสว่านที่ใช้เจาะรูกับงานไม้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า 
 สามารถเปลี่ยนดอกสว่านได้ตามความต้องการ
  เพื่อเจาะรูบนเนื้อไม้ในรูปแบบต่าง ๆ 
โดยใช้แรงกดของมือข้างหนึ่ง  และหมุนอีกข้างหนึ่ง 
 ในการเจาะรูสามารถเจาะไม้ที่มีความหนามาก ๆ
ได้  และควรทำงานด้วยความระมัดระวัง 
ไม่ควรกดแรงเกินไปเพราะจะทำให้ดอกสว่านหักได้
สว่านแท่น










      สว่านแท่นหรือสว่านตั้งพื้น  
  เป็นสว่านขนาดใหญ่มีแท่นสำหรับจับยึดชิ้นงานหรือใ
ช้สำหรับวางปากกาจับชิ้นงานการติดตั้งจะติดตั้งอยู่กับที่
  จึงเหมาะสำหรับการเจาะชิ้นงานที่สามารถ
นำมาวางบนแท่นจับยึดบนแท่นจับงาน  หรือปากกาจับชิ้นงาน

       การใช้และการบำรุงรักษา
  1. ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของเครื่องห้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  2. เลือกดอกสว่านให้เหมาะกับชิ้นงาน
  3. เมื่อใช้ประแจขันหัวจับดอกสว่านแล้วควรดึงออกทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย
  4. อย่าจับหัวดอกสว่านให้หยุดด้วยมือ
  5. ควรใช้อุปกรณ์ในการจับยึดให้แน่น
  6. ควรใช้แปรงปัดเศษโลหะที่เจาะ
  7. ก่อนใช้เครื่องควรหยอดน้ำมัน
  8. ไม่ควรตีหรือเคาะงานแรง ๆ บนแท่นเจาะ
  9. อย่าใช้แกนเจาะสว่านเป็นที่อัดหรือเจาะ
  10. หลังใช้งาน ปัด เช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง
สว่านไฟฟ้า










สว่านมือไฟฟ้า    
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะรูมีไฟฟ้าเป็นตัวต้นกำลัง  และมี
การปรับความเร็วรอบของสว่าน 
 แต่จะมีขนาดของรูเจาะที่ไม่ใหญ่มาก   
วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
     1.  เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน
     2.  ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน
   3.  ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน
  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น
  4.  ถ้าต้องการเจาะรูโร  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน
 5.   ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุออกบ้าง 
 เพื่อลดแรงกด  ทั้งป้องกันมิให้ดอกสว่านร้อนหรือหัก
 6.   หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควร
กลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้แตก
7.   การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่ม
กดสวิตช์  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 
 8.   เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดดอกสว่านออกจากตัวสว่าน 
 ทำความสะอาด  เก็บเข้าที่   ให้เรียบร้อย
       เครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ในงานช่าง 
  ไขควง  Screw  driver
  ไขควงใช้สำหรับขันตะปูเกลียวเพื่อจับยึด  ไขควง 
มี  2  ชนิด  ตามลักษณะการใช้งาน 

   1.  ไขควงปากแบน





   ลักษณะการใช้งาน 
            ไขควงปากแบน  ใช้สำหรับถอดตะปูเกลียวหัวผ่าเท่านั้น 
 อย่าใช้งัดฝากระป๋องหรือตอกสิ่งใด ๆ 
ควรซื้อเฉพาะไขควงที่ทำด้วยเหล็กคุณภาพดี 
   ไขควงปากแบนมีทั้งปากใหญ่และปากเล็ก 
ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของตะปูเกลียว
  ถ้าใช้ปากเล็กเกินไป  หรือปากบางเกินไป
  อาจทำให้ไขพลาด ร่องตะปูเยิน  
ปากไขควงจะต้องฝนให้ส่วนแบนทั้งสองด้านขนานกัน
  เพราะมิฉะนั้นปากจะไม่จับกับร่องหัวตะปู  ทำให้ไขพลาด 
ลื่น อย่างใช้ไขควงปากแบนไปไขตะปูหัวแฉก
  เพราะจะทำให้ร่องตะปูเยินชำรุด 
    การดูแลรักษา 
 เช็ดทำความสะอาดหลังใช้งาน  เก็บในที่ปลอดภัย 
  2. ไขควงปากแฉก

ลักษณะการใช้งาน
     ไขควงปากแฉก  ใช้สำหรับถอดและขันตะปูเกลียวปากแฉก
  ซึ่งมีที่ใช้มากในการยึดอุปกรณ์ภายในของรถยนต์  เพราะไม่ลื่นไถลง่ายเหมือนตะปูหัวผ่าธรรมดา  
  วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
        1.  ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน
       2.  ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน
  เพราะอาจเกิดพลาดพลั้งกระแทกมือได้
       3.  ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู
       4.  การใช้ไขควง  ควรจับที่ด้ามของไขควง 
 ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู
       5.  ใช้ไขควงที่มีด้ามเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า
       6.  ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที
       7.   หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด
       8.  เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
   คีม 
         เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับ ตัด ดัด งอโค้งด้ามมีฉนวน
หุ้มจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน มีความปลอดภัยในการทำงาน

คีมปากจระเข้

คีมปากจิ้งจก  
 คีมปอกและตัดสาย
คีมย้ำหัวต่อสาย





                            





 วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
        1.  ใช้คีมให้เหมาะกับงาน
     2.  ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว  เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน
     3.  ไม่ควรใช้คีมต่างค้อน
     4.  ก่อนใช้ควรตรวจฉนวนหุ้มให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 
    5.   เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาด  เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น